TUFS Language Modules

解説

   หน่วยพื้นฐานที่แสดงจังหวะคำในภาษาญี่ปุ่น คือ พยางค์ หรือ โมระ  คนญี่ปุ่นมองว่า ทุกพยางค์จะมีความยาวเท่ากัน
เมื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างพยางค์กับการเน้นเสียงแล้ว จะพบว่า แกนเสียง จะไม่เกิดในตำแหน่งที่เป็นพยางค์พิเศษ เช่น 「っ」、「ん」、「ー」 และพยางค์ที่ 2 ในสระซ้อน กล่าวคือ แม้จะไม่ทราบว่า 「ほん(本)」 มีรูปแบบการเน้นเสียงแบบใด แต่พิจารณาจากกฎเกณฑ์ดังกล่าว ก็ทราบได้ว่า แกนเสียงจะไม่ปรากฏที่「ん」แกนเสียงของ「本」จะอยู่ที่พยางค์แรก แต่หากเราไม่ตระหนักว่าในคำนี้มี 2 พยางค์ คือ 「ほ・ん」ก็จะจับเสียงได้ยาก  คำเช่น 「しんぶん(新聞หนังสือพิมพ์)」 จะออกเสียงเป็น 「し(ต่ำ)・ん(สูง)・ぶ(สูง)・ん(สูง)」  ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นบางคนแบ่งเสียงเป็น 2 พยางค์ คือ「しん」กับ「ぶん」 และออกเสียงเป็น「しん(ต่ำ)・ぶん(สูง)」 ซึ่งไม่ถูกต้องและควรระมัดระวังให้ดี   เวลาจะฝึกคำที่มีพยางค์พิเศษอยู่ จะต้องหมั่นสังเกตจำนวนพยางค์และตำแหน่งของแกนเสียง
สำหรับผู้ที่ในภาษาแม่มีการเน้นเสียงประเภท เสียงหนักเบา(เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย) เวลาพูดภาษาญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะลงเสียงหนักในพยางค์ที่เป็นแกนเสียง แต่พยางค์ที่มีการลงเสียงหนักจะฟังเหมือนเสียงยาวขึ้นกลายเป็นเสียงยาว จึงต้องระมัดระวังในการออกเสียง