รูปแบบการเน้นเสียงของคำประสมที่เกิดจากคำนาม 2 คำรวมกันเป็นคำใหม่ จะมีรูปแบบการเน้นเสียงไม่เหมือนกันคำเดี่ยว 2 คำ เวลาที่พูดแยกทีละคำก็จะมีแกนเสียงของแต่ละคำ แต่เมื่อประสมเป็นคำเดียวกันแล้วรูปแบบการเน้นเสียงจะเปลี่ยนไป เพราะในคำนาม 1 คำจะมีแกนเสียงได้เพียงแค่ 1 ตำแหน่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น 「春休み」「はる(春)」และคำหลังคือ「やすみ(休み)」 รูปแบบการเน้นเสียงจะไม่ใช่「はるやすみ」 แต่เป็น 「はるやすみ」
รูปแบบการเน้นเสียงคำนามประสมจะมีกฎเกณฑ์ในระดับหนึ่ง ขั้นแรกให้จำกฎ จากนั้น กรณีที่ไม่เป็นไปตามกฎค่อยจำไปทีละคำ จะทำให้เรียนรู้ได้ไม่ยาก ตารางต่อไปนี้เป็นกฎการออกเสียงคำนามประสม
|
เงื่อนไข |
รูปแบบการออกเสียงคำนามประสม |
ตัวอย่าง |
หากคำหลังมี |
คำส่วนใหญ่ |
แกนเสียงจะอยู่ที่พยางค์สุดท้ายของคำหน้า(ยกเว้น หากพยางค์นั้นเป็นพยางค์พิเศษ จะเลื่อนไปข้างหน้า 1พยางค์) |
こうべ+し→こうべし(神戸市) |
ส่วนน้อย(เช่นคำที่ตามหลังเป็น:「語」「色」「課」 |
แบบเสียงเรียบ |
ちゅうごく+ご→ちゅうごくご(中国語) |
|
หากคำหลังมี |
คำหลังเป็น แบบเสียงเรียบ กับ แบบหางสูง |
แกนเสียงจะอยู่ที่พยางค์แรกของคำหลัง |
おんな+ことば→おんなことば(女言葉) |
คำหลังเป็น แบบหัวสูง กับ แบบกลางสูง |
แกนเสียงเหมือนกับคำหลัง |
あさ+ごはん→あさごはん(朝御飯) |
|
หากคำหลังมี |
คำส่วนใหญ่ |
แกนเสียงเหมือนกับคำหลัง |
やまだ+しょうがっこう→やまだしょうがっこう(山田小学校) |