TUFS Language Modules

解説

   โดยทั่วไป การเน้นเสียงในแต่ละคำจะต่างกัน ต้องค่อย ๆ จำไปทีละคำ การเรียนรู้การเน้นเสียง จึงจำเป็นต้องฝึกหูให้สามารถฟังแกนเสียงในแต่ละคำได้ 。
แต่ในบางกรณีก็สามารถคาดคะเนได้ว่า แกนเสียงจะอยู่ในตำแหน่งใด เช่น การเน้นเสียงในคำยืมจากภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในระดับหนึ่ง หากจำกฎนั้นได้ ก็จะพอคาดคะเนล่วงหน้าได้ และเรียนรู้ได้ไม่ยาก ส่วนคำที่ไม่เข้ากฎ ก็ค่อยจำเป็นข้อยกเว้นไป
   คำยืมจากภาษาต่างประเทศ ปกติ จะมีแกนเสียงอยู่ที่พยางค์ที่ 3 นับจากท้ายคำ(ตัวอย่างเช่น:「ラダ」、「ナナ」、「ルク」、「ラス」、「ニス」、「ルフ」、「テル」、「ナダ」、「ンド」、「イツ」、「ワイ」、「ーマ」、「ール」、「ック」、「ック」、「ンドバッグ」「ンジ」、「ート」、「ート」、「チョコレート」、「イスクリーム」、「ンドネシア」、「ーストラリア」)
   แต่กรณีที่ พยางค์ที่ 3 นับจากท้ายคำเป็นพยางค์พิเศษ ได้แก่(「ッ」・「ン」・「ー」หรือสระตัวที่ 2 ในสระซ้อน) แกนเสียงจะเลื่อนไปข้างหน้า 1 ตำแหน่ง(ตัวอย่างเช่น:「ッカー」、「キャンパス」、「ーパー」、「ーター」、「レベーター」、「イトル」)
   คำที่เดิมมีเพียง 2 พยางค์ จะไม่มีพยางค์ที่ 3 นับจากท้าย  ดังนั้นแกนเสียงจะอยู่ที่พยางค์ที่ 2 นับจากท้ายคำ(หมายความว่า เป็นการเน้นเสียงแบบหัวสูง)(ตัวอย่างเช่น:「」、「」、「」、「」、「」、「」)
   คำศัพท์ที่เข้ามาในภาษาญี่ปุ่นนานแล้วและใช้อยู่เป็นประจำ  มีแนวโน้มที่จะมีรูปแบบการเน้นเสียงเป็นแบบเสียงเรียบ(ตัวอย่างเช่น :「アノ」、「ラス」、「ップ」、「メリカ」、「ーブル」、「ールペン」)
   นอกจากนี้ ในหมู่วัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะออกเสียงคำนามเป็นแบบเสียงเรียบ  ซึ่งก็พบในการเน้นเสียงคำยืมจากภาษาต่างประเทศด้วย ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นคำที่ตามหลักมีรูปแบบการเน้นเสียงแบบที่ 3 (มีแกนเสียงอยู่ที่พยางค์ที่ 3 นับจากท้ายคำ กรณีที่แกนเสียงเป็นพยางค์พิเศษ แกนเสียงจะเลื่อนไปข้างหน้า 1 ตำแหน่ง)(ตัวอย่างเช่น: 「ラマ」、 「ラブ」、 「ット」、 「ーティー」、 「ニーカー」、 「ザイナー」)
   นอกจากนี้ บางคำก็มีการเน้นเสียงโดยยึดรูปแบบเสียงในภาษาดั้งเดิม(ตัวอย่างเช่น:「クタイ」、「クシー」、「イロット」、「クセント」、「ストラン」、「イキング」、「ンフレット」、「ゼント