東京外国語大学言語モジュール

接続助詞(คำช่วยสันธาน)

สิ่งที่ควรรู้
 คำช่วยสันธาน หรือคำช่วยเชื่อมความ ใช้แสดงความสัมพันธ์เชิงความหมายระหว่างคำนาม คุณศัพท์ หรือกริยาที่เป็นภาคแสดง กับประโยคหลัก เกี่ยวกับประโยคความซ้อน ได้อธิบายไว้แล้วใน (→「Vて(て形)」、「AくてA・NAでNA・NでN」~「VてVます」、「理由」~「譲歩」) รายละเอียดโปรดดูในการ์ดดังกล่าว
 ในที่นี้จะอธิบายเกี่ยวกับความหมายและการใช้ของคำช่วยแต่ละตัวดังต่อไปนี้
Ⅰ 「て」
1 เดิมถือว่าเป็นหนึ่งใน "คำช่วย" แต่ในภาษาปัจจุบันมักอธิบายว่าเป็นรูปหนึ่ง(て形)ของการผันคำกริยา เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับคำกริยามากกว่า
2 โดยรูปแบบแล้วเป็นเพียงการเชื่อมประโยคหลัก(S2)กับประโยคย่อย(S1) ที่มิได้ซับซ้อนแต่อย่างใด แต่กลับสามารถแสดงความหมายได้หลากหลาย รายละเอียดโปรดดู「VてVます」
 นอกจากนี้สามารถใช้ในการหยิบยกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ขึ้นมากล่าวเป็นข้อ ๆ เรียงลำดับไป
(13)象は大きくて鼻が長いです。(→「AくてA・NAでNA・NでN」)
(ช้างตัวใหญ่ งวงยาว )
(1)朝起きて顔を洗います。(→「VてVます」)
(ตอนเช้า ตื่นแล้วล้างหน้า)
3 กริยารูป(て形)ของ「動詞+て」สามารถใช้สร้างสำนวนต่าง ๆ ได้หลากหลาย รายละเอียดโปรดดู「Vて(て形)」
 
Ⅱ 「ながら」
 แสดงความสัมพันธ์ว่า S1 กับS2 เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ในกรณีที่ภาคแสดงของ S1 เป็นคำกริยาแสดงการกระทำ
(2)テレビを見ながらごはんを食べました。
(กินข้าวไปดูโทรทัศน์ไป)
¶ แสดงความสัมพันธ์เชิงขัดแย้งระหว่าง S1กับS2  ในกรณีที่ภาคแสดงของ S1 เป็นกริยาแสดงสภาพ
(14)田中さんは、知っていながら知らないふりをしました。
(คุณทานากะ ทั้งที่รู้ แต่ทำแกล้งไม่รู้)
Ⅲ 「たり」「し」
ใช้ในการหยิบยกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ขึ้นมากล่าวเป็นตัวอย่าง
(3)学校で勉強をしたり運動をしたりします。(→「Vたり、Vたりします」)
(ที่โรงเรียน เรียน ออกกำลังกาย ฯลฯ)
(15)今年の夏休みは、海にも行きましたし、山にも登りました。
(วันหยุดฤดูร้อนปีนี้ ไปทะเลและปีนเขาด้วย)
เดิม「たり」ถือว่าเป็นหนึ่งใน "คำช่วย" แต่ในภาษาปัจจุบันมักอธิบายว่าเป็นรูปหนึ่ง(たり形)ของการผันคำกริยา เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับคำกริยามากกว่า
Ⅳ 「ので」「から」
แสดงความสัมพันธ์ว่า S1 เป็นสาเหตุ เหตุผลของS2 รายละเอียดโปรดดู「理由」(เหตุผล)
(5)雨が降ったので運動会が中止になりました。
(เนื่องจากฝนตก การแข่งขันกีฬาจึงยกเลิก)
(6)雨が降ったから運動会が中止になりました。
(เนื่องจากฝนตก การแข่งขันกีฬาจึงยกเลิก)
Ⅴ 「のに」「けれども」「が」
แสดงความสัมพันธ์เชิงขัดแย้งระหว่าง S1 กับS2 รายละเอียดโปรดดู「逆接」(การขัดแย้ง)
(7)雨が降ったのに運動会がありました。
(ทั้งที่ฝนตก แต่มีการแข่งขันกีฬา)
(8)雨が降ったけれども運動会がありました。
(ฝนตก แต่มีการแข่งขันกีฬา)
Ⅵ 「と」
แสดงความสัมพันธ์เชิงลำดับการเกิดระหว่างS1กับS2 หรือแสดงเงื่อนไขสมมุติ รายละเอียดโปรดดู「条件」 (เงื่อนไข)
(4)春になると暖かくなります。
(พอถึงฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะอุ่นขึ้น)
(16)暗いところで本を読むと目が悪くなります。
(ถ้าอ่านหนังสือในที่มืด ๆ สายตาจะแย่ลง)
Ⅶ 「ば」「たら」「なら」
แสดงความสัมพันธ์เชิงเงื่อนไขของการเกิด S2 รายละเอียดโปรดดู「条件」 (เงื่อนไข)
เดิม「ば」「たら」ถือว่าเป็นหนึ่งใน "คำช่วย" แต่ในภาษาปัจจุบันมักอธิบายว่าเป็นรูปหนึ่ง(ば形・たら形)ของการผันคำกริยา เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับคำกริยามากกว่า
(9)雨が降れば運動会を中止します。
(ถ้าฝนตก จะยกเลิกการแข่งขันกีฬา)
(10)雨が降ったら運動会を中止します。
(ถ้าฝนตก จะยกเลิกการแข่งขันกีฬา)
(11)雨が降るなら運動会を中止します。
(ถ้าฝนตก จะยกเลิกการแข่งขันกีฬา)
Ⅷ 「ても」
แสดงความหมายเหมือน even if ในภาษาอังกฤษ รายละเอียดโปรดดู 「譲歩」(การประนีประนอม ยอมรับ)
(12)雨が降っても運動会をします。
(แม้ฝนตก ก็ทำการแข่งขันกีฬา)