東京外国語大学言語モジュール

敬語(ภาษาสุภาพ)

สิ่งที่ควรรู้
1 ภาษาสุภาพเชิงยกย่อง ภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัว ภาษาสุภาพเชิงมารยาท และรูปสุภาพ รวมเรียกว่า 敬語(ภาษาสุภาพ) ในที่นี้จะอธิบายเกี่ยวกับภาษาสุภาพเชิงยกย่องและภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัว
ภาษาสุภาพเชิงยกย่อง
2 ภาษาสุภาพเชิงยกย่องแสดงความเคารพให้เกียรติต่อN ซึ่งเป็นผู้กระทำกริยาหรือผู้อยู่ในสภาพนั้น
3 รูปแบบของภาษาสุภาพเชิงยกย่องมีดังนี้①ใช้คำกริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงยกย่อง②ใช้รูป「おVになる」③ใช้รูป「Vれる/Vられる」
 
①ใช้คำกริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงยกย่อง
 
(Nは/が)
V
(尊敬語独自の動詞)
(กริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงยกย่อง)
ます
 
¶ภาษาสุภาพเชิงยกย่องของ「知っている」คือ「御存じだ」ซึ่งเป็น「名詞+だ」ดังนั้นรูปสุภาพจะเป็น「御存じです」
(1)山田さんはおそばを召し上がりました。
(คุณยามาดะรับประทานโซบะ)
กริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงยกย่องมีดังต่อไปนี้
辞書形
(รูปพจนานุกรม)
 
尊敬語
(ภาษาสุภาพเชิงยกย่อง)
普通形
(รูปธรรมดา)
丁寧形
(รูปสุภาพ)
 行く・来る
 いらっしゃる
 いらっしゃいます
 いる
 いらっしゃる
 いらっしゃいます
 食べる・飲む
 召し上がる
 召し上がります
 寝る
 お休みになる
 お休みになります
 死ぬ
 お亡くなりになる
 お亡くなりになります
 言う
 おっしゃる
 おっしゃいます
 見る
 ご覧になる
 ご覧になります
 着る
 お召しになる
 お召しになります
 する
 なさる
 なさいます
 知っている
 御存じだ
 御存じです
 
②ใช้รูป「おVになる」
 
(Nは/が)
V(連用形)
(รูปrenyo)
になります
 
(2)田中さんは毎朝、新聞をお読みになります。
(คุณทานากะอ่านหนังสือพิมพ์ทุกเช้า)
¶「おVになる」คือรูป「お-V連用形-になる」สำหรับกริยากลุ่มที่ 3「来る」「する」และกริยากลุ่มที่ที่ส่วนหลักของคำเป็นพยางค์เดียว(เช่น「いる」・「見る」・「着る」จะไม่สามารถทำเป็นรูป「お V になる」ได้ นอกจากนี้แม้เป็นกริยาที่มีสองพยางค์ขึ้นไปแต่เป็นกริยาที่มีกริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงยกย่องอยู่แล้ว ปกติจะไม่ใช้ในรูป 「おVになる」
③ใช้รูป「Vれる/Vられる」
 
(Nは/が)
V
れます (グループ1・する)
られます(グループ2・くる)
 
(3)中田先生がこの本を書かれました。
(อาจารย์นากาตะเขียนหนังสือเล่มนี้)
(4)あの方は東京駅で降りられます。
(คนโน้นจะลงที่สถานีโตเกียว)
¶「Vれる/Vられる」は、สร้างด้วยการตัด 「ない」ของรูปธรรมดาปฏิเสธ แล้วเติม 「れる」หรือ「られる」
แต่สำหรับกริยา 「できる」「わかる」หรือกริยารูปสามารถ จะไม่สามารถใช้ในรูป「Vれる/Vられる」
 
รูป「Vれる/Vられる」ผันได้ดังนี้
動詞
(กริยา)
辞書形
(รูปพจนานุกรม)
Vれる/Vられる
普通形
(รูปธรรมดา)
丁寧形
(รูปสุภาพ)
グループ1
(กลุ่มที่1)
 書く
 書かれる
 書かれます
 読む
 読まれる
 読まれます
グループ2
(กลุ่มที่2)
 起きる
 起きられる
 起きられます
 受ける
 受けられる
 受けられます
グループ3
(กลุ่มที่3)
 来る
 来られる
 来られます
 する
 される
 されます
 
¶「する」ผันเป็น「される」
4 ภาษาสุภาพที่เป็นคำนามหรือคุณศัพท์
① ใช้คำนามเพื่อแสดงการยกย่องบุคคลที่คำนามนั้นหมายถึง ตัวอย่างเช่น 「こちら、あちら、~さん、~様」
(8)あちらは山田様です。
(ท่านโน้นคือท่านยามาดะ)
② เติม「お」「ご」หน้าคำนาม เพื่อแสดงการยกย่องการเป็นเจ้าของ(ในความหมายกว้าง)คำนามนั้น โดยหลัก 「お」จะใช้กับคำญี่ปุ่น(คำดั้งเดิมในภาษาญี่ปุ่น) 「ご」ใช้กับคำที่มาจากภาษาจีน อย่างไรก็ดีมีข้อยกเว้น(*)
・คำที่ใช้「お」:お名前、*お宅、お仕事、お部屋、*お時間
                     *お電話、*お客 เป็นต้น
・คำที่ใช้「ご」:ご住所、ご両親、ご兄弟、ご家族 เป็นต้น
(9)あなたのお仕事は何ですか。
(อาชีพของคุณคืออะไร)
(10)ご家族はどちらにいらっしゃいますか。
(ครอบครัวของคุณอยู่ที่ไหน)
③เติม「お」「ご」หน้าคำคุณศัพท์แสดงสภาพของบุคคล  เพื่อแสดงการยกย่องให้เกียรติบุคคลที่อยู่ในสภาพนั้น (หลักการเหมือนกับข้อ②)
・คำที่ใช้「お」:お忙しい、おひま、お寂しい、お早い、*お元気 เป็นต้น
・คำที่ใช้「ご」:ご多忙、ご心配、ご不満、ご満足 เป็นต้น
(11)先生は来週もお忙しいようです。
(ดูเหมือนว่าสัปดาห์หน้าอาจารย์ก็จะยุ่งเช่นกัน)
(12)先生は来週もご多忙のようです。
(ดูเหมือนว่าสัปดาห์หน้าอาจารย์ก็จะยุ่งเช่นกัน)
5 ภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัว เป็นการแสดงความเคารพให้เกียรติต่อผู้รับผลการกระทำ โดยการแสดงการถ่อมตัวของผู้กระทำ
6 รูปแบบของภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัวมีดังนี้①กริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัว ②ใช้รูป「おVする」・「ごVする」
 
①กริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัว
 
(Nは/が)
V
(謙譲語独自の動詞)
(กริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัว)
ます
 
(5)わたしはきのう渡辺社長のお宅を拝見しました。
(เมื่อวานฉันได้เห็นบ้านของประธานวาตานาเบะ)
กริยาเฉพาะสำหรับภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัวมีดังต่อไปนี้
辞書形
(รูปพจนานุกรม)
謙譲語
(ภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัว)
普通形
(รูปธรรมดา)
丁寧形
(รูปสุภาพ)
 行く・来る
 うかがう
 うかがいます
 食べる・飲む
 いただく
 いただきます
 言う
 申し上げる
 申し上げます
 見る
 拝見する
 拝見します
 
②ใช้รูป「おVする」・「ごVする」
 
(Nは/が)
V
N(動作を表わす漢語名詞)
(คำนามแสดงการกระทำที่เป็นคำที่มาจากภาษาจีน)
します
 
(6)わたしがかばんをお持ちします。
(ฉันจะถือกระเป๋า)
(7)係員がご案内します。
(เจ้าหน้าที่จะนำทางไป)
¶「おVする」หมายถึงรูป「お+V連用形+する」、「ごVする」หมายถึงรูป「ご+V連用形+する」
 
¶รูป「ごVする」ใช้กับกริยาที่สร้างจากคำนามที่เป็นคำที่มาจากภาษาจีน เช่น「案内する、紹介する」
7 เพิ่มเติมจากในข้อ6 「お」「ご」สามารถใช้เติมหน้าคำนามที่แสดงการกระทำเพื่อแสดงการถ่อมตัวได้(เช่น お電話、お話、ご相談、ご連絡)
(13)こちらからお電話さしあげます。
(ทางนี้จะโทรศัพท์ไป)
8 ภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัวและภาษาสุภาพเชิงมารยาทมีความแตกต่างกันในแง่ของผู้ได้รับความเคารพ ตัวอย่างเช่น「参る」 กับ「うかがう」 กรณีไม่มีผู้รับผลการกระทำที่เฉพาะเจาะจงเช่นใน(14)’จะไม่สามารถใช้ภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัวคือ「うかがう」ได้  สำหรับประโยคตัวอย่าง(14)’’ ไม่ผิด แต่ไม่ได้แสดงการยกย่องต่ออาจารย์ ในตัวอย่างนี้ "อาจารย์" ไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับความเคารพ 
(14)先日試合で大阪に参りました。
(วันก่อนไปโอซาก้าเพราะมีการแข่งขัน)
(14)’×先日試合で大阪にうかがいました。
(’×วันก่อนไปโอซาก้าเพราะมีการแข่งขัน)
(14)''先日先生の研究室に参りました。
(''วันก่อนไปที่ห้องวิจัยของอาจารย์)
(14)'''先日先生の研究室にうかがいました。
('''วันก่อนไปที่ห้องวิจัยของอาจารย์)
9 ภาษาสุภาพโดยหลักจะใช้ในกรณีต่อไปนี้
・พูดกับผู้ที่มีอาวุโสหรือสถานะสูงกว่า(พนักงานร้านพูดกับลูกค้า, นักเรียนพูดกับอาจารย์, ลูกน้องพูดกับหัวหน้างาน หรือผู้อายุน้อยพูดกับผู้อายุมากกว่า เป็นต้น)
・พูดกับคนที่ไม่รู้จักหรือคนที่ไม่สนิท
・พูดในสถานการณ์ที่เป็นทางการ มีพิธีรีตอง
ส่วนเสริม
10 มีแนวโน้มที่จะไม่ใช้ภาษาสุภาพเชิงยกย่อง ภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัว ในกรณีที่ผู้ฟังเป็นบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาสุภาพด้วย เช่นกรณีที่ผู้ฟังเป็นเพื่อนสนิท มักใช้รูปดังในตัวอย่างที่(5)
(5)’わたしはきのう渡辺社長の家を見たよ。
(’เมื่อวานฉันได้เห็นบ้านของประธานวาตานาเบะด้วยล่ะ)
11 การใช้ภาษาสุภาพมีข้อควรระวังคือ แนวคิดเรื่อง「ソト」(คนนอก)「ウチ」(คนใน) ตัวอย่างเช่นในภาษาญี่ปุ่น เวลาสนทนากับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว จะไม่พูดถึงคนในครอบครัวด้วยภาษาสุภาพเชิงยกย่อง เนื่องจากถือว่าคนในครอบครัวเป็น「ウチ」(คนใน) เวลาพูดกับ「ソト」(คนนอก) จึงไม่พูดยกย่อง「ウチ」 (คนใน)  นอกจากนี้ บุคคลที่สังกัดองค์กร กลุ่ม หรือบริษัทเดียวกับตนก็จะถือว่าเป็น 「ウチ」(คนใน) เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในการทำงาน เวลาสนทนาอย่างเป็นทางการกับบุคคลนอกบริษัท ปกติจะใช้ภาษาสุภาพเชิงถ่อมตัวในการพูดถึงประธานบริษัทของตน
(15)他社の社員:渡辺社長はいらっしゃいますか。
(พนักงานของบริษัทอื่น: ประธานวาตานาเบะอยู่ไหมครับ(คะ))
   渡辺の部下:渡辺はただいま外出しております。
(ลูกน้องของวาตานาเบะ :ตอนนี้วาตานาเบะออกไปข้างนอกครับ(ค่ะ))
12 รูป「Vられる」ของ「いる」คือ 「おられる」