東京外国語大学言語モジュール

条件(เงื่อนไข)

สิ่งที่ควรรู้
1 「~と」「~ば」「~たら」「~なら」ใช้เชื่อมประโยคเพื่อแสดงเงื่อนไข โดยประโยค S1เป็นเงื่อนไข ส่วนประโยค S2เป็นผลที่เกิดตามมา สำนวนเหล่านี้มีความแตกต่างกันในด้านวิธีการใช้และความหมาย
วิธีการใช้「と」「ば」「たら」
2 「~と」โดยพื้นฐาน ใช้ในกรณีที่หากประโยคS1 เกิดขึ้น ข้อความในS2 ย่อมเกิดตามมาอย่างแน่นอนโดยธรรมชาติ เป็นสัจธรรม หรือเป็นการเกิดซ้ำ ๆ เสมอ เช่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ(ตัวอย่าง(1)),กิจวัตร(ตัวอย่าง(5))、การทำงานของเครื่องจักร(ตัวอย่าง(6))เป็นต้น
 
 
(1)雨が降ると、雪が解けます。
(เมื่อฝนตก หิมะจะละลาย)
(5)父は毎朝起きると、新聞を読みます。
(ทุกวันเมื่อพ่อตื่นก็จะอ่านหนังสือพิมพ์)
(6)このボタンを押すと、ドアが開きます。
(เมื่อกดปุ่มนี้ ประตูจะเปิด)
(7)成績が悪いと進学できません。
(หากผลการเรียนไม่ดี ก็ไม่สามารถเรียนต่อได้)
(8)部屋が静かだとよく勉強できます。
(หากห้องเงียบ ก็สามารถอ่านหนังสือเรียนได้ดี)
(9)成績が60点以上だと合格です。
(หากผลการเรียนได้60คะแนนขึ้นไป ก็สอบผ่าน)
3 「~と」ใช้เชื่อมประโยคด้วยการเติม「と」หลังรูปธรรมดาที่ไม่ใช่อดีต ไม่สามารถใช้เติมหลังรูป「た形」ได้ บางครั้งใช้หลังรูปสุภาพ แต่อาจไม่จำเป็นต้องจดจำ เนื่องจากเป็นวิธีพูดที่สุภาพอย่างมาก
4 「~ば」โดยพื้นฐานใช้แสดงความสัมพันธ์เชิงเงื่อนไขว่าเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน หรือโดยธรรมชาติ
 
 
(2)卒業論文を出せば、卒業できます。
(หากส่งวิทยานิพนธ์เพื่อขอจบการศึกษา ก็จะสามารถสำเร็จการศึกษาได้)
(10)安ければ、買います。
(หากราคาถูก ก็จะซื้อ)
¶「~ば」มักใช้ในสำนวนที่กล่าวถึงกฎระเบียบ หรือกฎทั่วไปที่เป็นสัจธรรม ดังเช่นที่พบในสำนวนคำพังเพย หรือสุภาษิต
(11)ちりもつもれば山となる。
(แม้เป็นฝุ่น(เล็กๆ)แต่ถ้าทับถมกันมาก ๆ ก็กลายเป็นภูเขาได้(สุภาษิต))
5 「~ば」สามารถใช้แสดงเงื่อนไขการสมมุติในเรื่องที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
(12)あした雨が降れば、運動会は中止です。
(ถ้าพรุ่งนี้ฝนตก การแข่งขันจะยกเลิก)
6 「~ば」คำกริยาและคุณศัพท์ใช้อยู่ในรูป「ば形」
「ば形」มีวิธีการผันดังนี้
動詞
(กริยา)
辞書形
(รูปพจนานุกรม)
ば形
(รูปば)
グループ1
(กลุ่มที่1)
 書く
 書けば
 読む
 読めば
グループ2
(กลุ่มที่2)
 起きる
 起きれば
 受ける
 受ければ
グループ3
(กลุ่มที่3)
 来る
 来れば
 する
 すれば
 
イ形容詞
(คุณศัพท์イ)
辞書形
(รูปพจนานุกรม)
ば形
(รูปば)
 白い
 白ければ
7 「~たら」โดยพื้นฐานใช้แสดงความสัมพันธ์เชิงเงื่อนไขสมมุติ-ผลที่ตามมาในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง เรื่องที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว โดยข้อความในประโยค S1ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นนั้นเป็นสาเหตุหรือเป็นชนวนเงื่อนไข ทำให้เกิดผลในประโยคS2 ตามมา (ในจุดนี้จะแตกต่างกับ「~なら」ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป)
 
 
(3)あした雨が降ったら、試合は中止します。
(ถ้าพรุ่งนี้ฝนตก การแข่งขันจะยกเลิก)
(13)暑かったら、エアコンをつけてください。
(ถ้าร้อน ก็จงเปิดเครื่องปรับอากาศ)
(14)あした晴れだったら、ドライブに行きましょう。
(ถ้าพรุ่งนี้อากาศแจ่มใส ไปขับรถเล่นกันเถอะ)
(15)ひまだったら、遊びに来ませんか。
(ถ้าว่าง ไปเที่ยวกันไหม)
8 「~たら」สร้างได้ด้วยการเติม 「ら」ท้ายรูป「た形」ของคำกริยาหรือคุณศัพท์
「と」และ「たら」ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงลำดับเวลาการเกิดเหตุการณ์
9 「~と」และ「~たら」สามารถใช้แสดงความสัมพันธ์เชิงลำดับเวลาของการเกิด โดยS1 เกิดขึ้นก่อน แล้ว S2 จึงเกิดตามมา
(16)部屋で{勉強していると/勉強していたら}、太郎が来ました。
(พอกำลังอ่านหนังสือเรียนอยู่ในห้อง ทาโร่ก็มา)
(17)木村さんに手紙を{出すと/出したら}、すぐに返事がきました。
(พอส่งจดหมายถึงคุณคิมุระ ก็ได้รับคำตอบกลับมาทันที)
วิธีการใช้「なら」
10 「~なら」มีลักษณะการใช้ที่แตกต่างจาก「~と」「~ば」「~たら」 สำหรับ「~なら」S2 จะเป็นการกล่าวแสดงความประสงค์ ความปรารถนา คำสั่ง หรือการประเมินตัดสินของผู้พูดต่อเงื่อนไขใน S1
 
 
(4)あの大学へ行くなら、自転車が便利です。
(ถ้าจะไปมหาวิทยาลัยโน้นล่ะก็ รถจักรยานสะดวก(กว่า))
(18)近いなら歩きましょう。
(ถ้าใกล้ เดินไปกันเถอะ)
(19)嫌ならやめてもいいですよ。
(ถ้าไม่ชอบ ก็เลิกได้นะ)
(20)大学生ならこのくらいはできるはずです。
(ถ้าเป็นนักศึกษา เรื่องแค่นี้น่าจะทำได้)
11 「~なら」 ใช้ในการรับสิ่งที่ผู้ฟังกล่าวถึงมาเป็นเงื่อนไขในการประเมิน ตัดสิน โดยข้อความในS1 เป็นสิ่งที่ผู้พูดเพิ่งทราบจากการบอกกล่าวของผู้ฟัง ส่วน S2 เป็นการประเมินผลโดยยึดเงื่อนไขใน S1 
(21)A:家にパソコンがあります。
(ที่บ้านมีคอมพิวเตอร์)
   B:パソコンがあるなら、インターネットができますね。
(ถ้ามีคอมพิวเตอร์ ก็ใช้อินเตอร์เน็ตได้สินะ)
12 「~なら」สามารถแสดงลำดับการเกิดของเรื่องราวได้ทั้งS1→S2 และ S2→S1 แต่สำนวนเงื่อนไขอีก 3 สำนวนนั้นแสดงลำดับ S1→S2 เท่านั้น
(22)車を買うと、お金がなくなります。
(ถ้าซื้อรถยนต์ เงินก็จะหมด)
(23)車を買えば、どこでも行けます。
(ถ้าซื้อรถยนต์ ก็จะสามารถไปที่ไหนก็ได้)
(24)車を買ったら、ドライブをしよう。
(ถ้าซื้อรถยนต์ ไปขับรถเล่นกันเถอะ)
13 「~なら」ใช้เติมท้ายรูปธรรมดา
¶บางครั้งมีการเติม「の」 หรือ「ん」 หน้า「~なら」 แต่ไม่มีความแตกต่างด้านความหมาย ในภาษาพูดบางครั้งใช้「のだったら/んだったら」
(21)’B:パソコンがあるのなら、インターネットができますね。
(’ถ้ามีคอมพิวเตอร์ ก็ใช้อินเตอร์เน็ตได้สินะ)
ส่วนเสริม
คำวิเศษณ์「もし」
14 สำหรับสำนวนแสดงเงื่อนไขสมมุติ มักเติม「もし」หน้าประโยค เพื่อทำให้ความหมายชัดเจนขึ้น
(12)’もしあした雨が降れば、運動会は中止です。
(’สมมุติว่าถ้าพรุ่งนี้ฝนตก การแข่งขันจะยกเลิก)
「~と」「~たら」แสดงการค้นพบ
15 「~と」「~たら」สามารถใช้เพื่อแสดงการค้นพบ โดยผลจากการกระทำS1 ทำให้เกิดการค้นพบ S2
(25)学校に{行くと/行ったら}、新入生がたくさんいました。
(พอไปโรงเรียน ก็พบว่ามีนักเรียนใหม่เป็นจำนวนมาก)
อย่างไรก็ตาม การใช้ ในกรณีนี้จะให้ความรู้สึกเป็นภาษาพูดแบบกันเอง ไม่เป็นทางการ ดังนั้นจึงควรระวังการใช้
การใช้「~ば」(เพิ่มเติม)
16 「~ば」เป็นรูปที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประโยคเงื่อนไขที่เน้นข้อความในS1ว่าต้องทำS1 อย่างไร จึงจะเกิดS2ได้ ซึ่งS2เป็นสิ่งที่ปรารถนา ประสงค์อยากให้เกิดขึ้น
(26)A:どうすれば、漢字を覚えることができますか。
(ทำอย่างไร จึงจะสามารถจำคันจิได้)
   B:毎日、新聞を読めば、覚えることができますよ。
(ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน ก็จะสามารถจำได้เอง)
¶จากเหตุผลข้างต้น ดังนั้น 「~ば」กับ「~と」จึงมีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย
(6)このボタンを押すと、ドアが開きます。
(เมื่อกดปุ่มนี้ ประตูจะเปิด)
(6)’このボタンを押せば、ドアが開きます。
(’ถ้ากดปุ่มนี้ ประตูจะเปิด)
ปกติมักใช้「~ば」 ในการตอบเมื่อถูกถามถึงวิธีการเปิดประตู  หากใช้「~と」 จะเป็นการอธิบายวิธีการเปิดประตูโดยทั่วไปไม่เจาะจง
17 「~ば」มักใช้เมื่อS2เป็นสิ่งที่ปรารถนาประสงค์อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นในกรณีที่S2เป็นสิ่งที่ไม่ปรารถนาจะไม่ใช้「~ば」เนื่องจากจะกลายเป็นประโยคที่ไม่เป็นธรรมชาติ
(27)お酒を{?飲めば/○飲むと/○飲んだら}、気分が悪くなります。
(พอดื่มเหล้า จะรู้สึกไม่สบาย)
18 กรณีที่ใช้ร่วมกับ「さえ」 จะแสดงว่าสิ่งนั้นเป็นเงื่อนไขที่ต่ำที่สุดสำหรับการเกิดS2 ในกรณีนี้ใช้ได้เพียงสำนวน 「~ば」เท่านั้น
(28)教科書さえ{○あれば/×あると/?あったら}、勉強できる。
(ถ้าอย่างน้อยมีตำราเรียน ก็จะสามารถเรียนได้)
สรุป
19 「~と」「~ば」「~たら」「~なら」สำนวนที่มีวิธีการใช้ได้กว้างที่สุดคือ「~たら」 ดังนั้นหากจดจำเพียงกรณีที่ไม่สามารถใช้ 「~たら」ได้ ก็จะสามารถแต่งประโยคได้ถูกต้อง ไม่มีประโยคที่ผิดธรรมชาติ
กรณีที่ไม่สามารถใช้ 「~たら」ได้คือกรณีที่ S1ไม่เกิดก่อนS2ในแง่เชิงลำดับเวลาหรือในแง่ตรรกะความเป็นจริง ในกรณีนี้จะใช้ 「~なら」
(4)’×あの大学へ行ったら、自転車が便利です。
(’×เมื่อไปมหาวิทยาลัยโน้นล่ะก็ รถจักรยานสะดวก(กว่า))
20 ในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นกรณีที่ใช้「~たら」ก็ไม่ผิด แต่ใช้สำนวนอื่นจะเป็นธรรมชาติกว่า下
① กรณีประโยคเงื่อนไขที่เน้นเงื่อนไขใน S1 ควรใช้「~ば」จะเหมาะสมที่สุด
(26)A:どうすれば、漢字を覚えることができますか。
(ทำอย่างไร จึงจะสามารถจำคันจิได้)
   B:毎日、新聞を読めば、覚えることができますよ。
(ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน ก็จะสามารถจำได้เอง)
② กรณีที่ S1 เป็นเงื่อนไขที่ต่ำที่สุดสำหรับการเกิดS2 ควรใช้「~ば」จะเหมาะสมที่สุด
(28)教科書さえあれば、勉強できる。
(ถ้าอย่างน้อยมีตำราเรียน ก็จะสามารถเรียนได้)
③กรณีเงื่อนไขที่เป็นตามธรรมชาติ กฎ หรือสัจธรรมทั่วไป ควรใช้「~ば」หรือ 「~と」จะเหมาะสมที่สุด
(1)雨が降ると、雪が解けます。
(เมื่อฝนตก หิมะจะละลาย)
(2)卒業論文を出せば、卒業できます。
(หากส่งวิทยานิพนธ์เพื่อขอจบการศึกษา ก็จะสามารถสำเร็จการศึกษาได้)
¶กรณีในข้อ①、② ไม่สามารถใช้「~と」