東京外国語大学言語モジュール

~かもしれません・~にちがいありません

สิงที่ควรรู้
Ⅰ「かもしれません」
1 「かもしれません」(普通形 รูปธรรมดา「かもしれない」)เป็นสำนวนกล่าวแสดงความเป็นไปได้ของการเกิดเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้น แต่แนวโน้มความเป็นไปได้จะต่ำกว่าสำนวน「~でしょう」
 
V(普通形รูปธรรมดา)
Aい
NA
かもしれません
 
(1)山田さんは図書館にいるかもしれません。
(คุณยามาดะอาจจะอยู่ที่หอสมุด)
(2)今ごろの東京は寒いかもしれません。
(โตเกียวเวลานี้อาจจะหนาว)
(3)山田さんは猫がきらいかもしれません。
(คุณยามาดะอาจจะไม่ชอบแมว)
คำกริยาและคุณศัพท์イจะอยู่ในรูปธรรมดาแล้วตามด้วย 「かもしれません」 ส่วนคำคุณศัพท์ ナและคำนามสามารถนำ「かもしれません」มาต่อท้ายได้เลย
2 「かもしれません」แสดงความหมายว่าแม้จะน้อยแต่ก็มีความเป็นไปได้ ดังนั้นจึงมักใช้ร่วมกับคำวิเศษณ์เช่น「もしかすると」「ひょっとすると」
(6)あの人はもしかすると木村さんのお兄さんかもしれません。
(คนโน้นไม่แน่อาจจะเป็นพี่ชายของคุณคิมุระ)
3 ในภาษาพูดบางครั้งใช้「かも」
(1)’山田さんは図書館にいるかも。
(’คุณยามาดะอาจจะอยู่ที่หอสมุด)
Ⅱ「にちがいありません」
1 「にちがいありません」(普通形รูปธรรมดา「にちがいない」)เป็นสำนวนกล่าวแสดงความเป็นไปได้โดยที่ผู้พูดแน่ใจว่าจะเกิดเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้น
 
V(普通形รูปธรรมดา)
Aい
NA
にちがいありません
 
(4)今ごろは、山田さんはひまにちがいありません。
(เวลานี้คุณยามาดะน่าจะว่าง)
(5)あれは、田村さんにちがいありません。
(โน่นน่าจะเป็นคุณทามุระ)
คำกริยาและคุณศัพท์イจะอยู่ในรูปธรรมดาแล้วตามด้วย「にちがいありません」 ส่วนคำคุณศัพท์ ナและคำนามสามารถนำ「にちがいありません」มาต่อท้ายได้เลย
2 「にちがいありません」มักใช้ร่วมกับคำวิเศษณ์ที่แสดงความเป็นไปได้สูงเช่น「きっと」หรือคำวิเศษณ์เช่น 「たぶん、おそらく」
(7)この時計はきっと高いにちがいありません。
(นาฬิกาเรือนนี้น่าจะแพงแน่ ๆ)
ส่วนเสริม
3 กรณีที่มี「の」อยู่หน้า 「かもしれない」จะใช้ในการกล่าวถึงการคาดคะเนสาเหตุหรือเรื่องราวเบื้องหลังโดยพิจารณาจากสถานการณ์หรือความเป็นจริงที่เห็น
(8)妹が帰ってきません。もしかしたら事故にあったのかもしれません。
(น้องสาวยังไม่กลับมา ไม่แน่อาจจะประสบอุบัติเหตุ)
Ⅲ「はずです」
1 สำนวนที่คล้ายกับ「にちがいありません」คือ 「はずです」(普通形รูปธรรมดา「はずだ」)
 
V(普通形รูปธรรมดา)
Aい
NAな
Nの
はずです
 
(9)今10時ですから、郵便局は開いているはずです。
(ตอนนี้สิบโมง ดังนั้นไปรษณีย์น่าจะเปิดแล้ว)
2 ความแตกต่างระหว่าง「にちがいない」กับ「はずだ」มีดังนี้
 
①「はずです」โดยหลักเป็นการกล่าวแสดงผลจากการสันนิษฐานอย่างมีเหตุผลแล้วว่า "ตามหลักเหตุผลแล้วมันน่าจะเป็นเช่นนั้น"
(10)木村さんは英語教師ですから、英語が話せるはずです。
(คุณคิมุระเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ดังนั้นน่าจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้)
¶ดังนั้นจึงสามารถใช้ในกรณีที่ข้อสันนิษฐานไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ และใช้ในกรณีที่เพิ่งเข้าใจเหตุและผลของข้อเท็จจริงที่รับทราบก่อนหน้านี้ ในกรณีนี้ไม่สามารถใช้「にちがいありません」ได้
(11)木村さんは英語教師ですから英語が話せる{○はずなのに/×にちがいないのに}、日常会話さえできません。
(คุณคิมุระเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ดังนั้นน่าจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่กลับพูดไม่ได้แม้กระทั่งสนทนาในชีวิตประจำวันทั่วไป)
(12)A:木村さんは英語教師です。
(คุณคิมุระเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ)
   B:そうですか、どうりで英語が話せる{○はずです/×にちがいないです}ね。
(อย่างนั้นหรือ มิน่าเล่าถึงสามารถพูดภาษาอังกฤษได้)
②「にちがいありません」สามารถใช้แสดงความแน่ใจเชื่อมั่นด้วยความรู้สึกหรือสัญชาตญาณได้  แต่「はずです」ไม่ได้
(13)あの犬の様子を見て、病気{○にちがいない/×のはずだ}と思いました。
(ดูสภาพของสุนัขตัวโน้นแล้ว คิดว่าน่าจะป่วย)
③「にちがいありません」มีความหมายของการปักใจเชื่อในสิ่งที่ตนเองคิดโดยมองจากมุมองของตนเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นในการพูดในมุมมองของสังคมหรือคนทั่วไปควรใช้「はずです」จะเหมาะสมกว่า
(14)このデータから考えると、留学生はこれからも増え続ける{○はずです/?にちがいありません}。
(เมื่อพิจารณาจากข้อมูลนี้ จากนี้นักศึกษาต่างชาติน่าจะยังเพิ่มขึ้นต่อไป)
¶「はずです」สามารถใช้ได้ทั้งภาษาเขียนและภาษาพูด แต่「にちがいありません」ไม่ค่อยใช้ในภาษาพูดโดยเฉพาะในการตอบคำถาม
 สำนวนที่คล้ายกับ「~かもしれません」「~にちがいありません」「~はずです」ยังมีอีกดังต่อไปนี้
 
  V(連用形รูปธรรมดา)
     A
NA
 
 そうです①
 
 
  V(普通形รูปธรรมดา)
    Aい
    NA
 
 ようです
 
 
  V(普通形รูปธรรมดา)
    Aい
        NA
 
  そうです②
 
 
 
    V(普通形รูปธรรมดา)
        Aい
        NA
         N
 
  らしいです
 
 
Ⅳ「そうです①」
1 「そうです①」(普通形รูปธรรมดา「そうだ」)เมื่อใช้กับคุณศัพท์ イคุณศัพท์ナ หรือกริยารูป「Vている」 ที่แสดงสภาพ จะแสดงความหมายในการกล่าวถึงลักษณะบางสิ่ง โดยสันนิษฐานจากความรู้สึกที่ได้เห็นจากภายนอก
(15)この家はだれか住んでいそうです。
(บ้านหลังนี้ดูเหมือนมีใครบางคนอาศัยอยู่)
(16)このおかしは甘そうです。
(ขนมนี้ดูท่าจะหวาน)
(17)この電子辞書は便利そうです。
(พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์เครื่องนี้ดูท่าจะ(ใช้งาน)สะดวก)
¶ใช้「おいしそうです」แสดงการประเมินจากภายนอกก่อนที่จะกิน และเมื่อกินไปเรียบร้อยแล้วจะใช้「おいしいです」
×(おかしを食べる前に)このおかしはおいしいです。
¶นอกจากนี้จะไม่สามารถใช้「そうです①」 ในกรณีการกล่าวถึงลักษณะที่สามารถรู้ได้ทันทีด้วยการมองจากภายนอกเช่น 「大きい」「背が低い」
×この木は大きそうです。
×山田さんは背が低そうです。
2 「そうです①」เมื่อใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลง จะแสดงความหมายว่ามีเค้าลางว่าจะเกิดการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลง
(18)雨が降りそうです。
(ดูท่าฝนจะตก)
(19)わたしはきょう早く学校に行けそうです。
(ดูท่าวันนี้ฉันจะไปโรงเรียนแต่เช้าได้)
¶「そうです①」โดยปกติไม่สามารถใช้กับการกระทำที่ผู้พูดตั้งใจจะกระทำ
(19)’×わたしはきょう早く学校に行きそうです。
(’×ดูท่าวันนี้ฉันจะไปโรงเรียนแต่เช้า)
วิธีการสร้างประโยครูป「そうです①」
3 การสร้างประโยครูป「そうです①」ในกรณีคำกริยาทำได้โดยการผันให้อยู่ในรูป renyo(โปรดดู→「普通形の体系」(ระบบโครงสร้างรูปธรรมดา)แล้วเติม「そうです」 กรณีคุณศัพท์イ ตัด「い」ของรูปธรรมดาของคุณศัพท์แล้วเติม「そうです」 ส่วนคุณศัพท์ ナสามารถใช้「そうです」ต่อท้ายได้เลย แต่ไม่ใช้กับคำนาม สำหรับ「ない」「よい」จะอยู่ในรูป 「なさそうです」「よさそうです」
4 「そうです①」สามารถใช้ในรูป 「~そうなN」、「~そうにV・A・NA」ได้
(20)ここにおいしそうなおかしがあります。
(ที่นี่มีขนมท่าทางอร่อย)
(21)木村さんはうれしそうに走ってきました。
(คุณคิมุระวิ่งมาท่าทางดีใจ)
Ⅴ「ようです」
1 「ようです」(普通形รูปธรรมดา「ようだ」)เป็นสำนวนใช้กล่าวถึงสภาพสถานการณ์ตรงหน้าโดยมีความหมายว่า "ไม่รู้แน่ชัด แต่น่าจะเป็นเช่นนั้น"
(22)庭に車がありません。母は出かけているようです。
(ในสวนไม่มีรถ ดูเหมือนว่าแม่จะออกไปข้างนอก)
2 「ようです」มีการใช้ในเชิงอุปมาเปรียบสิ่งนั้นกับสิ่งอื่นด้วย กรณีที่ใช้ในความหมายเชิงอุปมานี้มักใช้ร่วมกับคำวิเศษณ์「まるで」
(23)この絵はまるで写真のようです。
(ภาพนี้ราวกับรูปถ่ายไม่ผิดเพี้ยน)
3 「ようです」มักใช้ในรูป「~ようなN」、「~ようにV・A・NA」
(24)小林さんは鳥のような声で歌います。
(คุณโคบายาชิร้องเพลงด้วยเสียงราวกับนก)
(25)このロボットは、生きているように動きます。
(หุ่นยนต์ตัวนี้เคลื่อนไหวราวกับมีชีวิต)
4 「ようです」บางกรณีสามารถตีความได้ทั้งความหมายเชิงอุปมาและความหมายแสดงการประเมินสภาพ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(26)あの人は歌手のようです。
(คนโน้นดูเหมือนว่าจะเป็นนักร้อง/คนโน้น(ร้องเพลง)ราวกับนักร้อง)
¶กรณีที่ไม่รู้ว่า「あの人」เป็นนักร้อง ประโยคนี้จะแสดงความหมายของการประเมินจากสถานการณ์ แต่ในกรณีที่รู้อยู่แล้วว่า「あの人」ไม่ใช่นักร้อง ประโยคนี้ก็จะแสดงความหมายในเชิงอุปมา คำวิเศษณ์จะทำให้ความหมายของประโยคนี้ชัดเจนมากขึ้น กรณีประเมินจากสถานการณ์จะใช้「どうやら」หรือ 「どうも」กรณีอุปมามักใช้ 「まるで」
(27)あの人はどうやら歌手のようです。
(คนโน้นดูเหมือนว่าจะเป็นนักร้อง)
(28)あの人はまるで歌手のようです。
(คนโน้น(ร้องเพลง)ราวกับนักร้องไม่ผิดเพี้ยน)
วิธีการสร้างประโยครูป「ようです」
5 การสร้างประโยครูป「ようです」ในกรณีคำกริยาและคุณศัพท์イทำได้โดยการผันให้อยู่ในรูปธรรมดาแล้วเติม「ようです」กรณีคุณศัพท์ ナเติม「な」ส่วนคำนามเติม 「の」แล้วจึงเติม 「ようです」
Ⅵ「そうです②」
1 「そうです②」(普通形รูปธรรมดา「そうだ」)เป็นสำนวนถ่ายทอดสิ่งที่รับรู้มาโดยการฟังมาจากคนอื่น หรือจากการอ่านหนังสือ มักใช้ร่วมกับการแสดงแหล่งข้อมูลซึ่งจะแสดงด้วย「~によると」หรือ「~の話では」เป็นต้น
(29)来月から新しい生徒が来るそうです。
(ได้ยินว่าตั้งแต่เดือนหน้าจะมีนักเรียนใหม่มา)
(30)天気予報によると、あしたは雨が降るそうです。
(ได้ยินว่าพรุ่งนี้ฝนจะตก จากพยากรณ์อากาศ)
วิธีการสร้างประโยครูป「そうです②」
2 การสร้างประโยครูป「そうです②」ในกรณีคำกริยาและคุณศัพท์イทำได้โดยการผันให้อยู่ในรูปธรรมดาแล้วเติม「そうです」กรณีคุณศัพท์ ナและคำนามเติม「だ」แล้วจึงเติม「そうです」
Ⅶ「らしいです」
1 「らしいです」(普通形รูปธรรมดา「らしい」)มีการใช้ในกรณีแสดงความหมายการประเมินสภาพจากสถานการณ์เหมือนกับ「ようです」(ตัวอย่าง(27)) และการใช้ในกรณีถ่ายทอดข้อมูลเรื่องราวเหมือนกับ 「そうです②」(ตัวอย่าง(28))
(31)木村さんが電話に出ない。出かけているらしい。
(คุณคิมุระไม่รับโทรศัพท์ ดูเหมือนว่าจะออกไปข้างนอก)
(32)山田さんは来月東京に行くらしいです。
(ได้ยินว่าคุณยามาดะจะไปโตเกียวเดือนหน้า)
2 「らしいです」มีความหมายของการถ่ายทอดข้อมูลเรื่องราวด้วย ดังนั้นจีงมักมีความหมายแฝงของความไม่รับผิดชอบด้วย สำนวนนี้จึงไม่เหมาะสมสำหรับการเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือกรณีที่ต้องกล่าวในสิ่งที่ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ
(33)(医者が患者に)骨を折った{×らしいです/○ようです}。レントゲンを撮りましょう。
((แพทย์พูดกับคนไข้) ดูเหมือน(×ได้ยิน)ว่ากระดูกหัก ต้องถ่ายเอกซ์เรย์ดูหน่อยนะ)
3 「そうです②」มักใช้ในกรณีที่มีแหล่งข้อมูลชัดเจน ส่วน「らしいです」มักใช้ในกรณีที่แหล่งข้อมูลไม่ชัดเจนเช่น ข่าวลือ
(34)先生から聞きましたが、来月から新しい生徒が来るそうです。
(ฟังมาจากอาจารย์ว่าตั้งแต่เดือนหน้าจะมีนักเรียนใหม่มา)
(35)うわさによると、山田さんは来月東京に行くらしいです。
(จากข่าวลือได้ยินว่าคุณยามาดะจะไปโตเกียวเดือนหน้า)
วิธีการสร้างประโยครูป「らしいです」
4 การสร้างรูปประโยค「らしいです」ในกรณีคำกริยาและคุณศัพท์イทำได้โดยการผันให้อยู่ในรูปธรรมดาแล้วเติม「らしいです」กรณีคุณศัพท์ ナและคำนามสามารถเติม「らしいです」ได้เลย