東京外国語大学言語モジュール

Nがほしいです/Nがほしくありません

สิ่งที่ควรรู้
1 「ほしいです」(普通形รูปธรรมดา「ほしい」)ใช้แสดงความประสงค์ความปรารถนา อยากได้บางสิ่งของผู้พูด รูปปฏิเสธคือ「ほしくありません」「ほしくないです」
 
N1
N2
ほしいです
ほしくありません
ほしくないです
  N1:ผู้ที่คิดว่าอยากได้ N2
  N2: สิ่งที่ N1คิดอยากได้
 
(1)わたしは今コンピューターがほしいです。
(ตอนนี้ฉันอยากได้คอมพิวเตอร์)
(5)わたしはコンピューターはほしくありません。
(ฉันไม่อยากได้คอมพิวเตอร์)
(6)わたしはコンピューターはほしくないです。
(ฉันไม่อยากได้คอมพิวเตอร์)
¶N2คือสิ่งที่อยากได้ กรณีรูปปฏิเสธมักเปลี่ยน「N2が」เป็น 「N2は」
2 「ほしい」เป็นคุณศัพท์イ การผันเหมือนกับคุณศัพท์イทั่วไป
3 ประโยคคำถาม ใช้ถามความประสงค์ความปรารถนาของผู้ฟังหรือบุคคลที่สาม โดยกรณีนี้N1จะหมายถึงผู้ฟังหรือบุคคลที่สาม
(2)A:車がほしいですか。
(อยากได้รถยนต์ไหม)
  B:いいえ、{ほしくありません/ほしくないです}。
(ไม่ ไม่อยากได้)
(7)A:太郎さんは犬がほしいですか。
(คุณทาโร่อยากได้สุนัขไหม)
  B:はい、ほしいです。
(ครับ อยากได้)
4 ใช้ 「何がほしいですか」「どれがほしいですか」เมื่อต้องการระบุเจาะจงสิ่งของที่ผู้ฟังหรือบุคคลที่สามอยากได้
(3)A:誕生日に何がほしいですか。
(วันเกิดอยากได้อะไร)
  B:そうですね、新しい自転車がほしいです。
(อืม อยากได้รถจักรยานใหม่)
(4)(カタログを見ながら)
((ระหว่างดูแคตตาล็อกแสดงรายการสินค้า))
 A:どれがほしいですか。
(อยากได้อันไหน)
 B:これとそれがほしいです。
(อยากได้อันนี้กับอันนั้น)
5 สามารถละ N1ได้ และกรณีที่เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าN2 หมายถึงอะไรก็สามารถละ「N2が」ได้เช่นกัน โปรดดูตัวอย่าง(2)(3)(4)
(2)A:車がほしいですか。
(อยากได้รถยนต์ไหม)
  B:いいえ、{ほしくありません/ほしくないです}。
(ไม่ ไม่อยากได้)
(3)A:誕生日に何がほしいですか。
(วันเกิดอยากได้อะไร)
  B:そうですね、新しい自転車がほしいです。
(อืม อยากได้รถจักรยานใหม่)
(4)(カタログを見ながら)
((ระหว่างดูแคตตาล็อกแสดงรายการสินค้า))
 A:どれがほしいですか。
(อยากได้อันไหน)
 B:これとそれがほしいです。
(อยากได้อันนี้กับอันนั้น)
6 ข้อควรระวังมีดังนี้
・ ไม่สามารถใช้สำนวนนี้บอกเล่าถึงความประสงค์ความปรารถนาของผู้ฟังหรือุบุคคลที่สามโดยตรงได้ ในกรณีนี้จะใช้รูปคาดคะเน(→「~でしょう」~「~と思います」)หรือรูปประโยคคำถาม
(8)太郎さんはコンピューターがほしいようです。
(ดูเหมือนคุณทาโร่อยากได้คอมพิวเตอร์)
・ หากใช้「Nがほしいですか」ถามบุคคลที่มีอาวุโสหรือสถานะสูงกว่าผู้พูดจะกลายเป็นการเสียมารยาทและไม่สุภาพ(เกี่ยวกับวิธีการถามโปรดดู "ส่วนเสริม"9)
・ ใช้「Nがほしいです」เมื่อสิ่งที่อยากได้เป็นสิ่งของ แต่หากสิ่งที่ประสงค์เป็นการกระทำใช้「Vたいです」(โปรดดู「Vたいです/Vたくありません」、「Vたかったです/Vたくありませんでした」)
ส่วนเสริม
7 「Nがほしいんですが」สามารถใช้ในการบอกความประสงค์ในบางสิ่งของผู้พูดให้ผู้ฟังรับทราบ เพื่อให้ผู้ฟังเสนอสิ่งนั้นให้ กรณีนี้สิ่งที่ประสงค์จะต้องไม่ใช่สิ่งที่ระบุเฉพาะเจาะจง และผู้ฟังต้องเป็นบุคคลที่คาดว่าจะสามารถเสนอสิ่งนั้นให้แก่ผู้พูดได้
(9)A:すみません、白い紙がほしいんですが。
(ขอโทษ อยากได้กระดาษขาว)
  B:はい。
(ครับ(ค่ะ))
(10)A:あのう、赤いボールペンがほしいんですが。
(เอ่อ อยากได้ปากกาลูกลื่นสีแดง)
   B:はい。
(ครับ(ค่ะ))
8 สามารถใช้กริยา「ほしがる」ในการแสดงความประสงค์ในบางสิ่งของผู้ฟังหรือบุคคลที่สามได้
(11)太郎さんは新しいコンピューターをほしがっています。
(คุณทาโร่อยากได้คอมพิวเตอร์ใหม่)
แต่ ควรระวังการใช้ เนื่องจาก「ほしがる」มีความหมายแฝงของการตำหนิว่า"ความอยากได้สิ่งของนั่นมันแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดในท่าที ดูแล้วน่ารังเกียจ"อยู่ด้วย
9 วิธีการถามผู้ที่อาวุโสหรือมีสถานะสูงกว่าเกี่ยวกับสิ่งที่อยากได้
การใช้「ほしいですか」ถามบุคคลที่มีอาวุโสหรือสถานะสูงกว่าผู้พูดเป็นการเสียมารยาทและไม่สุภาพ ดังนั้นจึงมักใช้สำนวนอื่นแทน
・ถามสิ่งที่ประสงค์อยากได้ทั่ว ๆ ไป ใช้สำนวน:「○○{は/が}お入り用ですか」
(12) 先生、コンピューターはお入り用ですか。
(อาจารย์ครับ(คะ) คอมพิวเตอร์จะรับไหมครับ(คะ))
・ถามเพื่อให้เลือกหนึ่งอย่างจากสิ่งของหลายอย่างที่อยู่ตรงหน้าใช้สำนวน:「どれがよろしいですか」
(13)(先生の目の前にお菓子が入った皿をさしだして)先生、どれがよろしいですか。
((ยื่นจานที่มีขนมไปที่ด้านหน้าของอาจารย์) อาจารย์ครับ(คะ) รับชิ้นไหนดีครับ(คะ))