東京外国語大学言語モジュール

VてVます

สิ่งที่ควรรู้
1 กริยารูป「て形」สามารถใช้เชื่อมประโยคตั้งแต่สองประโยคขึ้นไป
 
V1ます
V2ます
V1て
V2ます
 
¶ผัน「V1ます」เป็น 「V1て」 การผันรูป「て形」โปรดดู 「Vて(て形)」
ตัวอย่าง:あしたわたしは駅で友だちに会います。+いっしょにコンサートに行きます。
 →(1) あしたわたしは駅で友だちに会って、いっしょにコンサートに行きます。
(พรุ่งนี้ฉันจะเจอเพื่อนที่สถานีรถไฟแล้วไปดูคอนเสิร์ตด้วยกัน)
2 V1 ต้องอยู่ในรูป「て形」โดย V2 สามารถอยู่ในรูปอื่น ๆ เช่น(「ます」「ました」「ています」「ましょう」「たいです」「てください」เป็นต้น)
3 「VてVます」ใช้กล่าวถึงกริยาที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลา กรณีนี้「Nは/が」ของ V1และ V2 เป็นคนเดียวกัน
(1)あしたわたしは駅で友だちに会って、いっしょにコンサートに行きます。
(พรุ่งนี้ฉันจะเจอเพื่อนที่สถานีรถไฟแล้วไปดูคอนเสิร์ตด้วยกัน)
(2)A:あしたの予定を教えてください。
(กรุณาแจ้งกำหนดการพรุ่งนี้)
  B:朝7時に起きて、食堂で朝ごはんを食べて、8時から練習します。
(ตื่นเจ็ดโมงเช้า กินอาหารเช้าที่โรงอาหาร แล้วฝึกซ้อมตั้งแต่แปดโมง)
(3)わたしは日本へ行って、すもうを見たいです。
(ฉันอยากไปญี่ปุ่น ดูซูโม่)
(4)(折り紙の折り方を教えている)
((ระหว่างสอนวิธีพับกระดาษโอริงามิ))
  2つに折って、はさみで切ってください。
(กรุณาพับเป็นสองส่วนแล้วใช้กรรไกรตัด)
4 「VてVます」สามารถใช้กล่าวถึงสภาพเมื่อเกิดการกระทำ กรณีนี้「Nは/が」ของ V1และ V2 เป็นคนเดียวกัน
(5)あそこに座って、お弁当を食べましょう。
(นั่งกินอาหารปิ่นโตตรงโน้นกันเถอะ)
5 「VてVます」สามารถใช้กล่าวถึงหนทางหรือวิธีการของการกระทำ กรณีนี้「Nは/が」ของ V1และ V2 เป็นคนเดียวกัน
(6)わたしは毎日歩いて学校へ行きます。
(ฉันเดินไปโรงเรียนทุกวัน)
(7)テープを聞いて、日本語を勉強します。
(เรียนภาษาญี่ปุ่นโดยฟังเทป )
6 ในกรณีที่「Nは/が」ของ V1และ V2 เป็นคนเดียวกัน สามารถละ「Nは/が」ถัดไปได้ นอกจากนี้กรณีที่เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า 「Nは/が」 หมายถึงอะไร  ก็สามารถละได้เช่นกัน
7 สามารถใช้กล่าวถึงการกระทำหรือสภาพตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(8)夏休みに中山さんは海でダイビングをして、山本さんは山に登りました。
(ในวันหยุดฤดูร้อน คุณนากายามะดำน้ำที่ทะเล คุณยามาโมโตะปีนเขา)
(9)田中さんは東京に住んでいて、山本さんは大阪に住んでいます。
(คุณทานากะอาศัยอยู่ที่โตเกียว คุณยามาโมโตะอาศัยอยู่ที่โอซาก้า)
8 สามารถใช้กล่าวถึง「V1て」ว่าเป็นสาเหตุ และ「Vます」เป็นผลลัพธ์
(10)雨が降って、野球の試合を中止しました。
(ยกเลิกการแข่งขันเบสบอล เพราะฝนตก)
(11)大きい台風が来て、電車が止まりました。
(รถไฟหยุดวิ่ง เพราะพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่(กำลังแรง))
ส่วนเสริม
9 「Vて」กับ「Vてから」มีความแตกต่างกันดังนี้
 
Vて
Vてから
-ลำดับของการกระทำ
-การเรียงลำดับการกระทำในระดับเดียวกัน
-จำนวนประโยคที่เชื่อม
-ความชัดเจนของความสัมพันธ์เชิงบริบท
หลายประโยค
×
ไม่เกิน2ประโยค
 
(12)田中さんが来て、木村さんが帰りました。
(คุณทานากะมา คุณคิมุระกลับ)
(12)’田中さんが来てから、木村さんが帰りました。
(คุณทานากะมา คุณคิมุระกลับ)