東京外国語大学言語モジュール

普通体(ประโยครูปธรรมดา)

สิ่งที่ควรรู้
1 ที่ผ่านมา ในสื่อการเรียนนี้ เราได้เรียนรูปแบบประโยค 「です」「ます」เป็นหลัก แต่ในภาษาญี่ปุ่นยังมีรูปแบบประโยคอีกประเภทหนึ่ง เป็นรูปแบบที่ใช้รูปธรรมดาในการพูดหรือเขียน อนึ่งได้กล่าวถึงเรื่องรูปธรรมดาแล้วใน「普通形の体系」 (ระบบโครงสร้างรูปธรรมดา)
2 ประโยครูปธรรมดานี้จำแนกได้เป็นダ体(รูปダ)และデアル体(รูปデアル)
ダ体(รูปダ)ใช้ในการเขียนนวนิยาย บันทึกประจำวัน หรือการสนทนาระหว่างเพื่อนสนิท ในขณะที่ デアル体(รูปデアル)ใช้ในการเขียนบทความวิชาการ รายงาน เป็นต้น
3 กรณีภาคแสดงเป็นคำกริยาหรือคุณศัพท์イ จะไม่มีความแตกต่างระหว่างダ体(รูปダ)และデアル体(รูปデアル) แต่จะมีความแตกต่างกันเฉพาะเมื่อภาคแสดงเป็นคำนามหรือคำคุณศัพท์ナลงท้ายด้วย「~だ」 หรือในสำนวนที่ลงท้ายด้วย「~だ」 เช่นใน「名詞+だ」、「~ようだ」「~そうだ」เป็นต้น
4 ควรระวังอย่าสับสนระหว่างคำคุณศัพท์イ กับคุณศัพท์ナ
(2)日本の冬は寒い。
(ฤดูหนาวของญี่ปุ่นอากาศหนาว)
(2)’×日本の冬は寒いだ。×日本の冬は寒いである。
(’×ฤดูหนาวของญี่ปุ่นอากาศหนาว × ฤดูหนาวของญี่ปุ่นอากาศหนาว)
ส่วนเสริม
5 ภาษาพูดแบบกันเองซึ่งใช้ダ体(รูปダ) มีลักษณะพิเศษดังต่อไปนี้
① บางครั้งใช้ในรูปย่อ
・ส่วนที่เกี่ยวกับ「は」:では→じゃ、~ては→~ちゃ เป็นต้น
(5)この本はわたしのじゃない。
(หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ของฉัน)
・ส่วนที่เกี่ยวกับรูป「て形」:~ている→~てる、~ておく→~とく、~てしまう→~ちゃう เป็นต้น
(6)わたしはきょうまでにレポートを終わらせとく。
(ฉันจะทำรายงานให้เสร็จภายในวันนี้)
・ส่วนที่เกี่ยวกับรูป「ば形」:~すれば→~すりゃ เป็นต้น
(7)こうすりゃよかった。
(ถ้าทำแบบนี้ ก็คงดี(แต่ไม่ได้ทำ))
・ส่วนที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดเรื่องราวหรืออ้างอิงคำพูด「と」:~と→~って、~という→~っていう เป็นต้น
(8)君、あした来るって言ったよね。
(เธอ บอกว่าพรุ่งนี้จะมาไม่ใช่เหรอ)
・ส่วนที่เกี่ยวกับ「の」:~のだ→~んだ、~ものだ→~もんだ เป็นต้น
(9)たいしたもんだ。
(ใช้ได้ทีเดียว)
② ลำดับคำ
บางครั้งมีการสลับลำดับคำในประโยค เช่น สลับภาคแสดงกับประธานหรือกรรม หรือสลับส่วนขยายกับส่วนที่ถูกขยาย เป็นต้น
(10)読んどいたよ、あの本。
(อ่านแล้วล่ะ หนังสือนั่น)
(11)これ、プリント、先週の。
(นี่ ของสัปดาห์ก่อน เอกสาร)
③ คำศัพท์
やはり→やっぱり、少し→ちょっと、非常に→すごく、どちら→どっち、
こちら→こっち เป็นต้น
(12)ちょっと待って。
(รอเดี๋ยว)
(13)すごくおいしい。
(อร่อยสุด ๆ)
④ การละ
บางครั้งจะละคำช่วย「が」「を」「に」เป็นต้น
(14)わたし、きのう、あれから映画見て、ごはん食べた。
(ฉัน เมื่อวาน จากนั้น ดูหนัง กินข้าว)