東京外国語大学言語モジュール

可能形(รูปสามารถ)

สิ่งที่ควรรู้
1 ดังได้เรียนไปแล้วว่า「Vことができます」(→「Vことができます/できません」)เป็นสำนวนใช้แสดงความสามารถ นอกจากนี้คำกริยายังสามารถผันให้อยู่ในรูปสามารถได้ด้วยดังนี้
 
① กริยากลุ่มที่1 ตัด u ของรูปพจนานุกรมแล้วเติม -eru
ตัวอย่าง:かく(kaku) kak- + -eru → kakeru かける
(1)わたしは漢字が書けます。
(ฉันสามารถเขียนคันจิได้)
② กริยากลุ่มที่ 2 ตัด ru ของรูปพจนานุกรมแล้วเติม -rareru
ตัวอย่าง:たべる(taberu) tabe- + -rareru → taberareru たべられる
(2)わたしはさしみが食べられます。
(ฉันสามารถกินปลาดิบได้)
③กริยากลุ่มที่ 3「くる」ผันเป็น「こられる」、「する」ผันเป็น「できる」
(3)あした学校に来られます。
(พรุ่งนี้สามารถมาโรงเรียนได้)
(4)水泳ができます。
(สามารถว่ายน้ำได้)
2 คำตอบต่อคำถาม「こられますか」คือ 「行けます・行けません」 เนื่องจากเป็นการมองจากมุมมองของผู้ตอบ
(5)A:パーティーに来られますか。
(สามารถมางานเลี้ยงได้ไหม)
  B1:はい、行けます。
(ได้ ไปได้)
  B2:いいえ、行けません。
(ไม่ ไปไม่ได้)
3 รูปสามารถของกริยาประเภท「Nする」 เช่น 「勉強する」คือ 「勉強できる」
(6)図書館で勉強できます。
(สามารถอ่านหนังสือเรียนที่หอสมุดได้)
¶ คำกริยาบางตัวเช่น 「愛する」 จะใช้รูปสามารถ 「愛せる」ที่ผันจาก「愛す」ซึ่งเป็นกริยากลุ่มที่ 1
(7)彼を一生愛せますか。
(สามารถรักเขาจนชั่วชีวิตได้ไหม)
ส่วนเสริม
4 รูปสามารถของกริยากลุ่มที่ 2 และกริยา「くる」ปัจจุบันมีการใช้ในรูป 「たべれる」、「これる」รูปเหล่านี้เรียกว่า「ラ抜きことば」(คำละラ) เนื่องจากเป็นรูปที่มาจากการตัด ラออกไปจากคำเดิมคือ「たべられる」、「こられる」
(2)’わたしはさしみが食べれます。
(’ฉันสามารถกินปลาดิบได้)
(3)’あした学校にこれます。
(’พรุ่งนี้สามารถมาโรงเรียนได้)
แต่รูปเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นการใช้ภาษาที่ถูกต้อง