東京外国語大学言語モジュール

格助詞(คำช่วยแสดงหน้าที่)

  คำช่วยแสดงหน้าที่ ส่วนใหญ่ใช้ร่วมกับคำนาม เพื่อแสดงความสัมพันธ์เชิงหน้าที่และความหมายของคำนามนั้นกับคำอื่น(คำนามอื่น หรือคำกริยา คุณศัพท์ที่เป็นภาคแสดง)ในประโยค ในที่นี้จะอธิบายการใช้คำช่วยแต่ละคำตามลำดับ
Ⅰ 「が」
สิ่งที่ควรรู้
1 แสดงประธานของภาคแสดง
(1)山田さんが本を読みました。
(คุณยามาดะอ่านหนังสือ)
(10)空が青いです。
(ท้องฟ้าสีฟ้า)
(11)田中さんが最初です。
(คุณทานากะเป็นคนแรก)
¶ในภาษาญี่ปุ่น สามารถใช้ 「~が」ในการแสดงสิ่งที่มีอยู่ดำรงอยู่ และสิ่งที่เรามีความรู้สึกต่อด้วย นอกจากนี้ 「~が」ยังสามารถใช้แสดงสิ่งที่เราต้องการ ปรารถนา และในประโยครูปสามารถก็สามารถใช้ 「~が」แสดงสิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วย ในรูปประโยคเหล่านี้เรานับรวมเรียกว่า 「主語」(ประธาน)
(12)机の上に本があります。(→「Nがあります/います」、「NにNがあります/います」)
(บนโต๊ะมีหนังสือ(→「Nがあります/います」、「NにNがあります/います」))
(13)コンピューターがほしいです。(→「Nがほしいです/Nがほしくありません 」)
(อยากได้คอมพิวเตอร์(→「Nがほしいです/Nがほしくありません 」))
(14)ふるさとがなつかしいです。(→「Nがすきです/Nがすきではありません/Nがきらいです」、「こわい・悲しい・うれしい、など」)
(คิดถึงบ้านเกิด(→「Nがすきです/Nがすきではありません/Nがきらいです」、「こわい・悲しい・うれしい、など」))
(15)水{が/を}飲みたいです。(→「Vたいです/Vたくありません」、「Vたかったです/Vたくありませんでした」)
(อยากดื่มน้ำ(→「Vたいです/Vたくありません」、「Vたかったです/Vたくありませんでした」))
(16)英語{が/を}話せます。(→「可能形」)
(พูดภาษาอังกฤษได้(→「可能形」(รูปสามารถ)))
2 บางครั้งใช้「の」กับคำนามที่เป็นประธานของอนุพากย์คำนาม (→Ⅸ)
ส่วนเสริม
3 บางครั้งมีการใช้ 「~から」「~で」กับคำนามที่ทำหน้าที่เหมือนประธาน 「~が」(→Ⅵ、Ⅷ)
4 「が」จะไม่ปรากฏร่วมกับคำช่วยวิเศษณ์ โปรดดูคำอธิบายⅩⅠ 「副助詞คำช่วยวิเศษณ์ 「副助詞全体について」(เกี่ยวกับคำช่วยวิเศษณ์โดยรวม))  นอกจากนี้ ในภาษาพูดอาจมีการละ「が」
(17)わたしは本を読みました。
(ฉันอ่านหนังสือ)
(18)わたし、大学へ行きます。
(ฉัน ไปมหาวิทยาลัย)
 
Ⅱ 「を」(ออกเสียงว่า「オ」)
สิ่งที่ควรรู้
1 ใช้แสดงกรรมของสกรรมกริยา นอกจากนี้ยังใช้แสดงจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ เส้นทางหรือจุดเคลื่อนผ่าน
(1)山田さんが本を読みました。(動作の対象)(→「NをVます」、「NにNをVます」)
(คุณยามาดะอ่านหนังสือ)
(19)9時に家を出ます。(出発点)
(ออกจากบ้านเก้าโมง(จุดเริ่มต้น))
(20)十字路を右に曲がります。(通過点)
(เลี้ยวขวาที่สี่แยก(จุดเคลื่อนผ่าน))
(21)毎日この道を通ります。(経路)
(ผ่านถนนสายนี้ทุกวัน(เส้นทาง))
2 จากการใช้แสดงจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ สามารถขยายการใช้ไปเพื่อแสดงสังกัดหรือองค์กรที่ออกจาก ลาจากหรือจบการศึกษาจาก
(22)大学を卒業します。
(เรียนจบมหาวิทยาลัย)
(23)学校を休みます。
(ลาหยุดเรียน)
3 จากการใช้แสดงเส้นทาง สามารถขยายการใช้ไปเพื่อแสดงช่วงเวลา หรือสถานการณ์ที่แวดล้อม
(24)楽しい1日を過ごしました。
(ใช้เวลาหนึ่งวันอย่างสนุกสนาน)
(25)あらしの中を走りました。
(วิ่งท่ามกลางพายุ)
(26)拍手の中を歩きました。
(เดินท่ามกลางเสียงปรบมือ)
ส่วนเสริม
4 「を」จะไม่ปรากฏร่วมกับคำช่วยวิเศษณ์ โปรดดูคำอธิบายⅩⅠ 「副助詞คำช่วยวิเศษณ์ 「副助詞全体について」(เกี่ยวกับคำช่วยวิเศษณ์โดยรวม))  นอกจากนี้ ในภาษาพูดอาจมีการละ「を」
(27)パンだけ食べました。
(กินเพียงขนมปังเท่านั้น)
(28)パン、食べました。
(ขนมปังน่ะ กินแล้ว)
 
Ⅲ 「に」
สิ่งที่ควรรู้
1 มีการใช้ที่หลากหลายมาก ในที่นี้จะยกการใช้ที่เป็นหน้าที่หลัก ๆ มาอธิบาย
2 ใช้แสดงผู้รับสิ่งของหรือข่าวสาร ในกรณีที่ภาคแสดงเป็นคำกริยาที่มีความหมายของการให้ การรับ การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล
(29)山田さんにプレゼントを贈ります。(→「NにNをVます」)
(ส่งของขวัญให้แก่คุณยามาดะ(→「NにNをVます」))
(30)田中さんに英語を教えます。(→「NにNをVます」)
(สอนภาษาอังกฤษให้คุณทานากะ(→「NにNをVます」))
(31)木村さんに本をあげます。(→「やりもらい」)
(ให้หนังสือแก่คุณคิมุระ(→「やりもらい」))
3ใช้แสดงจุดหมายปลายทางหรือสถานที่ที่สิ่งของจะดำรงอยู่ ในกรณีที่ภาคแสดงเป็นคำกริยาแสดงการกระทำให้สิ่งของเกิดการเคลื่อนที่
(32)壁に写真をはります。
(ติดรูปที่ผนัง)
(33)ゴミ箱にごみを捨てます。
(ทิ้งขยะในถังขยะ)
4 ใช้แสดงบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำกริยา
(34)犬が山田さんにほえました。
(สุนัขเห่าคุณยามาดะ)
(2)先生に相談します。
(ปรึกษาอาจารย์)
5 ใช้แสดงจุดหมายปลายทางของการเคลื่อนที่
(35)東京に行きます。
(ไปโตเกียว)
(36)家に帰ります。
(กลับบ้าน)
(37)飛行機に乗ります。
(ขึ้นเครื่องบิน)
(38)駅の前に集まります。
(รวมตัวกันที่หน้าสถานีรถไฟ)
6 ใช้แสดงผลของการเปลี่ยนแปลง
(39)氷が水になりました。
(น้ำแข็งกลายเป็นน้ำ)
(40)山田さんは子どもを政治家にしました。
(คุณยามาดะทำให้ลูกเป็นนักการเมือง)
7 ใช้แสดงผู้กระทำในประโยครูปถูกกระทำ หรือรูปให้กระทำ
(41)山田さんに本を読ませます。
(ให้คุณยามาดะอ่านหนังสือ)
(42)先生にほめられました。
(ได้รับการชมเชยจากอาจารย์)
(43)田中さんに本を見せます。
(ให้หนังสือคุณทานากะดู)
(44)お母さんに見つかりました。
((ถูก)พบโดยคุณแม่)
(45)木村さんに英語を教わりました。
(เรียนภาษาอังกฤษจากคุณคิมุระ)
8 ใช้แสดงขอบข่ายหรือเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ
(46)山田さんはお父さんに似ています。
(คุณยามาดะเหมือนคุณพ่อ(ของเขา))
(47)このズボンはわたしには大きすぎます。
(กางเกงตัวนี้ใหญ่เกินไปสำหรับฉัน)
(48)テレビは目によくないです。
(โทรทัศน์ไม่ดีต่อสายตา)
(49)1回に3袋ずつ使います。
(ใช้ครั้งละสามถุง)
9 ใช้แสดงสถานที่ที่คนหรือสิ่งของดำรงอยู่ หรือมีปรากฏอยู่
(50)教室に佐藤さんがいます。(→「NにNがあります/います」)
(ที่ห้องเรียนมีคุณซาโต้อยู่(→「NにNがあります/います」))
(51)机の上に本があります。(→「Nの上/下/中/前/後」)
(บนโต๊ะมีหนังสือ(→「Nの上/下/中/前/後」))
(52)ホテルに泊まります。
(พักที่โรงแรม)
(53)大学の近くに家を建てます。
(สร้างบ้านใกล้มหาวิทยาลัย)
(54)庭に花が咲きます。
(ดอกไม้บานที่สวน)
10 ใช้แสดงจุดของเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำ
(55)7時に家を出ます。(→「時+Vます」)
(ออกจากบ้านเจ็ดโมง(→「時+Vます」))
(56)今年の3月15日に日本に来ました。
(มาญี่ปุ่นวันที่สิบห้าเดือนมีนาคมปีนี้)
11 ใช้แสดงวัตถุประสงค์ของการกระทำ โดยใช้ต่อท้ายคำนามที่แสดงการกระทำ หรือต่อท้ายรูปrenyoของคำกริยา (「動詞の3種類」กริยา3ประเภท) หรือใช้ในรูป「動詞基本形+の」(「Vこと・Vの」)
(57)買い物に行きます。
(ไปซื้อของ)
(58)シャツを買いに行きます。
(ไปซื้อเสื้อเชิ้ต)
(59)えんぴつは字を書くのに使います。
(ดินสอใช้สำหรับเขียนตัวอักษร)
12 ใช้ในการเรียงลำดับคำนามตั้งแต่สองคำขึ้นไป
(60)山田さんに佐藤さんに田中さんが来ました。
(คุณยามาดะ คุณซาโต้ คุณทานากะมา)
ส่วนเสริม
13 ใช้แสดงสาเหตุ เหตุผล
(61)人の多さにびっくりしました。
(ตกใจ เพราะคนจำนวนมากมาย)
14 ใช้เน้นคำกริยานั้น โดยจะใช้ในรูป renyo(「動詞の3種類」กริยา3ประเภท)
(62)カラオケで歌いに歌って、声が出なくなりました。
(ร้องเพลงมากที่คาราโอเกะ จนไม่มีเสียง)
 
Ⅳ 「へ」(ออกเสียงว่า「エ」)
 ใช้แสดงจุดหมายปลายทางหรือทิศทางของการเคลื่อนที่(→「NへVます」)
(63)飛行機が南へ飛んでいきます。
(เครื่องบินบินไปทางทิศใต้)
(3)学校へ行きます。
(ไปโรงเรียน)
 
Ⅴ 「まで」
สิ่งที่ควรรู้
1 ใช้แสดงจุดสิ้นสุดของขอบเขต(←→「から」)
(4)学校から家まで歩きます。(空間の範囲)
(เดินจากโรงเรียนถึงบ้าน(ขอบเขตของสถานที่))
(64)8月1日から9月30日まで夏休みです。(時間の範囲)
(ตั้งแต่วันที่หนึ่งเดือนสิงหาคมถึงวันที่สามสิบเดือนกันยายนเป็นวันหยุดฤดูร้อน(ขอบเขตของเวลา))
(65)1番の人から10番の人まで入ってください。(ことがらにあてはまる人やものの範囲)
(ตั้งแต่คนที่หนึ่งถึงคนที่สิบ กรุณาเข้ามา(ขอบเขตของคนหรือสิ่งของ))
(66)大人から子どもまで人気があります。(ことがらにあてはまる人やものの範囲)
(เป็นที่นิยมตั้งแต่ผู้ใหญ่จนกระทั่งเด็ก(ขอบเขตของคนหรือสิ่งของ))
(67)この店は、おかしからチケットまで、なんでも売っています。(ことがらにあてはまる人やものの範囲)
(ร้านนี้ขายทุกอย่างตั้งแต่ขนมจนกระทั่งตั๋ว(ขอบเขตของคนหรือสิ่งของ))
ส่วนเสริม
2 มีการใช้แบบคำช่วยวิเศษณ์ด้วย(→คำอธิบาย Ⅷ「副助詞」คำช่วยวิเศษณ์)
 
Ⅵ 「から」
1แสดงจุดเริ่มต้นของขอบเขต(←→まで)
(68)教室から出ます。(空間の範囲:出発点)
(ออกจากห้องเรียน(ขอบเขตของสถานที่ จุดเริ่มต้น))
(69)あしたから夏休みです。(時間の範囲:起点)
(ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นวันหยุดฤดูร้อน(ขอบเขตของเวลา จุดเริ่ม))
2 ใช้แสดงวัตถุดิบ
(70)ぶどうからワインを作ります。
(ผลิดไวน์จากองุ่น)
3 จากการใช้แสดงจุดเริ่มต้น สามารถขยายการใช้เพื่อแสดงประธานที่เป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสารหรือสิ่งของ โดยทำหน้าที่เหมือน「が」(→Ⅰ)
(71)田中さんから本を贈りました。
(คุณทานากะส่งหนังสือ(มา))
(72)先生から質問を出しました。
(อาจารย์ตั้งคำถาม)
(73)わたしから説明します。
(ฉันจะอธิบาย)
4 ใช้แสดงผู้กระทำในประโยครูปถูกกระทำหรือรูปให้ทำ โดยใช้แทน 「に」
(74)鈴木さんから説明させました。
(ให้คุณซูซูกิอธิบาย)
(75)先生からほめられました。
(ได้รับการชมเชยจากอาจารย์)
 
Ⅶ 「より」
สิ่งที่ควรรู้
1 ใช้แสดงเกณฑ์การเปรียบเทียบ
(5)佐藤さんは鈴木さんより年上です。
(คุณซาโต้อายุมากกว่าคุณซูซูกิ)
ส่วนเสริม
2 แสดงจุดเริ่มต้น หรือจุดของเวลา ซึ่งเป็นการใช้พื้นฐาน
(76)白線より中に入らないでください。
(กรุณาอย่าล้ำเส้นสีขาว)
(77)これより会議を始めます。
(จากนี้จะเริ่มการประชุม)
 
Ⅷ 「で」
1 มีการใช้ที่หลากหลายมาก ในที่นี้จะยกการใช้ที่เป็นหน้าที่หลัก ๆ มาอธิบาย
2 ใช้แสดงสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำ
(78)公園でコンサートがあります。(→「NにNがあります/います」)
(มีคอนเสิร์ตที่สวนสาธารณะ(→「NにNがあります/います」))
(6)食堂でごはんを食べます。(→「Vます/Vません」)
(กินข้าวที่โรงอาหาร(→「Vます/Vません」))
3 ใช้แสดงขอบเขตของเหตุการณ์หรือเรื่องราว
(79)世界で一番長い川はナイル川です。
(แม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกคือแม่น้ำไนล์)
(80)日本では、3月と4月と5月は春です。
(ที่ญี่ปุ่น เดือนมีนาคม เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูใบไม้ผลิ)
(81)片道で100円、往復で200円です。
(เที่ยวเดียวหนึ่งร้อยเยน ไปกลับสองร้อยเยน)
(82)これで十分です。
(นี่ก็เพียงพอแล้ว)
(83)あしたでもいいです。(→「Nでもいいです/Nではだめです」)
(พรุ่งนี้ได้ไหม(→「Nでもいいです/Nではだめです」))
(84)これではだめです。(→「Nでもいいです/Nではだめです」)
(นี่ใช้ไม่ได้(→「Nでもいいです/Nではだめです」))
4 ใช้แสดงวิธีการ ขั้นตอน
(85)ペンで字を書きます。
(เขียนตัวอักษรด้วยปากกา)
(86)バスで学校に行きます。
(ไปโรงเรียนโดยรถเมล์)
(87)佐藤さんは大きい声で話します。
(คุณซาโต้พูดด้วยเสียงอันดัง)
5 ใช้แสดงวัตถุดิบ
(88)木で机を作ります。
(สร้างโต๊ะจากไม้)
6 ใช้แสดงสาเหตุ เหตุผล โดยเติมท้ายคำนามที่แสดงเหตุการณ์หรือเรื่องราว
(89)病気で学校を休みました。
(หยุดเรียน เพราะป่วย)
(90)台風で電車が遅れました。
(รถไฟล่าช้า เพราะพายุไต้ฝุ่น)
7 ใช้แสดงสภาพ โดยใช้เติมท้ายคำนามที่แสดงสภาพ
(91)子どもがはだしで歩いています。
(เด็กเดินด้วยเท้าเปล่า)
(92)子どもがはだかで走っています。
(เด็กวิ่งด้วยเท้าเปล่า)
8 ใช้แสดงจำนวนปริมาณของผู้กระทำ โดยใช้เติมท้ายคำนามที่แสดงปริมาณ
(93)いつもひとりで勉強しています。
(อ่านหนังสือเรียนคนเดียวเป็นประจำ)
(94)家族全員でドライブしました。
(ขับรถเล่นกับครอบครัวโดยพร้อมหน้า)
9 ใช้แสดงปริมาณของเวลาที่ใช้ในการเกิดเหตุการณ์หรือเกิดการกระทำนั้น
(95)日本語が1年間で上手になりました。
(ภาษาญี่ปุ่นเก่งขึ้นในหนึ่งปี)
(96)このコンピューターを20万円で買いました。
(ซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ด้วยราคาสองแสนเยน)
(97)あと10分で5時です。
(อีกสิบนาทีจะห้าโมง)
(98)2と3で5です。
(สองกับสามเป็นห้า)
10 จากการใช้แสดงสถานที่ สามารถขยายการใช้ไปเพื่อแสดงประธาน(→Ⅰ)
(99)警察で事件を調べています。
(ตำรวจสอบสวนคดี)
(100)クラスで旅行に出かけました。
(ไปท่องเที่ยวด้วยกันทั้งชั้นเรียน)
(101)その仕事は自分でやります。
(งานนั้น ฉันจะทำเอง)
 
Ⅸ 「の」
1 ใช้แสดงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างคำนามกับคำนามอื่น โดยใช้เติมท้ายคำนาม
(7)机の上(→「Nの上/下/中/前/後」)
(บนโต๊ะ(→「Nの上/下/中/前/後」))
(102)庭の花(→「NのN」)
(ดอกไม้ในสวน(→「NのN」))
(103)田中さんの本(→「NのN 」)
(หนังสือของคุณทานากะ(→「NのN」))
2 ใช้แสดงประธานของอนุพากย์คำนาม แทน「が」(→Ⅰ)
(104)雨の降る日(→「V+N」)
(วันที่ฝนตก(→「V+N」))
(105)鈴木さんの言ったこと(→「Vこと・Vの」)
(เรื่องที่คุณซูซูกิพูด(→「Vこと・Vの」))
(106)田中さんの来たとき(→「~とき」)
(ตอนที่คุณทานากะมา(→「~とき」))
 
Ⅹ 「と」
1 ใช้แสดงการเรียงลำดับคำนามตั้งแต่สองคำขึ้นไป รายละเอียดโปรดดู「NとN」
(8)田中さんと山田さんが来ました。
(คุณทานากะกับคุณยามาดะมา)
2 ใช้แสดงบุคคลที่ร่วมกระทำสิ่งนั้นด้วยกัน
(107)佐藤さんは鈴木さんと学校に行きました。(「といっしょに together with」と言い換えられる)
(คุณซาโต้ไปโรงเรียนกับคุณซูซูกิ(สามารถใช้「といっしょに together with」แทนได้))
(108)田中さんは山田さんと結婚しました。(「といっしょに together with」と言い換えられない)
(คุณทานากะแต่งงานกับคุณยามาดะ(สามารถใช้「といっしょに together with」แทนได้))
3 ใช้แสดงเกณฑ์ในการตัดสินความเหมือนหรือความต่าง
(109)田中さんはお父さんと似ています。
(คุณทานากะเหมือนคุณพ่อ(ของเขา))
(110)あのかばんはわたしのかばんと同じです。 
(กระเป๋าใบโน้นเหมือนกระเป๋าของฉัน)
(111)このノートはわたしのノートと違います。
(สมุดโน้ตเล่มนี้แตกต่างจากสมุดโน้ตของฉัน)
4 ใช้แสดงการอ้างอิงคำพูด ความคิด หรือเนื้อหาสาระ
(112)朝起きたときには「おはようございます」と言います。
(เวลาตื่นตอนเช้า จะพูดว่า "อรุณสวัสดิ์")
(113)毎日ジョギングをする人はえらいと思います。(→「~と思います」)
(คิดว่าคนที่วิ่งออกกำลังกายทุกเช้ายอดเยี่ยมน่าชมเชย(→「~と思います」))
(114)この漢字は「やま」と読みます。
(คันจิตัวนี้อ่านว่า "ยามะ")
 
ⅩⅠ 「や」
1 ใช้แสดงการเรียงลำดับคำนามตั้งแต่สองคำขึ้นไป รายละเอียดโปรดดู「NやN」
(9)佐藤さんや田中さんが来ました。
(คุณซาโต้ คุณทานากะฯลฯ มา)