東京外国語大学言語モジュール

普通形の体系(ระบบโครงสร้างรูปธรรมดา)

สิ่งที่ควรรู้
1 เราได้เรียนการผันรูปกริยา「Vます」「Vません」แล้ว การผันในรูปแบบนี้เรียกว่า รูปสุภาพ ดังที่ได้แสดงการผันไว้ในส่วนบนของตารางที่ 1  นอกจากนี้ยังได้แบ่งกลุ่มของกริยาเป็น「グループ1」(กลุ่มที่1)「グループ2」(กลุ่มที่2)「グループ3」(กลุ่มที่3) ดังในตารางที่1และตารางที่ 2  เกี่ยวกับความแตกต่างของกลุ่มกริยา1・2・3 โปรดดู「動詞の3種類 」(กริยา 3 ประเภท)
2 นอกจากนี้ยังมีการผันกริยาในรูปที่เรียกว่า 「普通形」 (รูปธรรมดา)ด้วย  ดังที่ได้แสดงการผันไว้ในส่วนล่างของตารางที่ 1
3 รูปธรรมดา มักใช้ในการสนทนาระหว่างเพื่อนสนิท ในการเขียนรายงาน วิทยานิพนธ์ บันทึกประจำวัน นวนิยาย ฯลฯ  รายละเอียดโปรดดู「普通形と丁寧形」(รูปธรรมดาและรูปสุภาพ)「普通体」(ประโยครูปธรรมดา)
4 รูปธรรมดาสามารถใช้ในการสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของประโยค รายละเอียดโปรดดู「普通形と丁寧形」(รูปธรรมดาและรูปสุภาพ)
5 การใช้รูปธรรมดาของ「ある」ควรระวัง เนื่องจากมีการผันที่ไม่เหมือนกับกริยาอื่นในกลุ่มที่ 1
6 ควรระวัง การผันรูป 「ない形」ของ「ある」กับรูป「て形」และ「た形」ของ「行く」เนื่องจากมีการผันที่ไม่เหมือนกับกริยาอื่น
7 รูปกริยาที่อยู่ในช่องซ้ายสุดของตาราง 1・2 เรียกว่ารูปพจนานุกรม ควรจำรูปนี้ไว้ เนื่องจากเป็นรูปที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม สามารถใช้ค้นหาคำในพจนานุกรม และยังเป็นรูปฐานสำหรับการผันเป็นรูปต่าง ๆ ด้วย กรณีคำกริยาจะมีรูปเหมือนกับ「普通形非過去肯定」(รูปธรรมดาบอกเล่าที่ไม่ใช่อดีต)
8 ในตารางที่2มีคำที่ใช้เรียกรูปผันต่าง ๆ  บางรูปยังไม่ได้เรียน แต่เป็นรูปที่มักใช้ในการสร้างประโยคที่ซับซ้อนหรือสร้างส่วนประกอบของประโยค (ดูตารางที่ 3) และในการ์ดต่อจากนี้ก็จะพบเห็นบ่อย ๆ  ดังนั้นจึงสามารถอ้างอิงการ์ดนี้ได้ในเวลาที่ต้องการ
  辞書形 รูปพจนานุกรม(รูปที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม และจะลงท้ายด้วย u โปรดดู 7)
  ます形 รูป masu(รูปที่ลงท้ายด้วย masu)
  連用形 รูป renyo(รูปที่สร้างจากรูป masu โดยการตัด 「ます」 ออก)
  ない形 รูป nai(รูปธรรมดาปฏิเสธที่ไม่ใช่อดีต)
  た形   รูป ta(รูปธรรมดาบอกเล่าอดีต)
  て形   รูป te(รูปเดียวกับรูป ta แต่เปลี่ยนจาก「た」เป็น「て」โปรดดู 043)
9 การผันรูป「ない形」ทำได้ดังนี้
 
<กลุ่มที่1>
  〇う
  〇わない
  かう
   かわない
 〇つ
 〇たない
 まつ
  またない
 〇る
 〇らない
 つくる
  つくらない
 〇ぬ
 〇なない
 しぬ
  しなない
 〇ぶ
 〇ばない
 あそぶ
  あそばない
 〇む
 〇まない
 よむ
  よまない
 〇く
 〇かない
 かく
  かかない
 〇ぐ
 〇がない
 およぐ
  およがない
 〇す
 〇さない
 はなす
  はなさない
 
<กลุ่มที่ 2>
 〇る
 〇ない
 おきる
 たべる
  おきない
  たべない
 
<กลุ่มที่3>
 する
 くる
 しない
 こない
 
 
¶กลุ่มที่1ผันโดยการเปลี่ยนท้ายคำของคำรูปพจนานุกรมจาก「u」เป็น「anai」แต่ในกรณีที่ลงท้ายด้วย「○う」เช่น「かう」「いう」「おもう」จะเปลี่ยนจาก「u」เป็น「wanai」 ดังนั้นควรระวังการผันคำเหล่านี้
10 การผันรูป「た形」ทำได้ดังนี้ กริยาที่ผัน「○ぬ→○んだ」มีเพียง「死ぬ」ตัวเดียว
 
<กลุ่มที่1>
〇う
〇つ
〇る
  
〇った
      かう
      まつ
      かえる
      かった
      まった
      かえった
〇ぬ
〇ぶ
〇む
〇んだ
     しぬ
     あそぶ
     よむ
     しんだ
     あそんだ
     よんだ
〇く
〇いた
      かく
      かいた
〇ぐ
〇いだ
     およぐ
     およいだ
〇す
〇した
      はなす
      はなした
 
<กลุ่มที่2>
〇る
〇た
     おきる
     たべる
    おきた
    たべた
 
<กลุ่มที่3>
する
くる
    した
    きた
 
 
¶แม้「行く」อยู่ในรูป「○く」แต่ไม่ผันเป็น「いいた」แต่จะผันอยู่ในรูป「いった」ดังนั้นจึงควรระวังการผัน