東京外国語大学言語モジュール

Nがあります/います

สิ่งที่ควรรู้
1 「あります」ใช้แสดงการมีอยู่ การดำรงอยู่ของสิ่งของ
(1)木があります。
(มีต้นไม้)
(2)本があります。
(มีหนังสือ)
2 「います」ใช้แสดงการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต
(3)犬がいます。
(มีสุนัข)
(4)田中さんがいます。
(มีคุณทานากะ(อยู่))
3 เติม 「が」หลัง「N」เพื่อแสดงถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่ดำรงอยู๋
4 เมื่อจะถามว่ามีหรือไม่มี จะเติม 「か」หลัง「います」 ในกรณีที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้ หรือหลัง「あります」 ในกรณีที่เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตเคลื่อนไหวไม่ได้ (รายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ 「か」กับประโยคคำถาม โปรดดู 「終助詞Ⅰ」(คำช่วยท้ายประโยค Ⅰ ))
(5)A:ペンがありますか。
(มีปากกาไหม)
  B:はい、あります。
(ครับ(ค่ะ) มี)
     /いいえ、ありません。
(ไม่ ไม่มี)
(6)A:山田さん、いますか。
(คุณยามาดะอยู่ไหม)
  B:はい、います。
(ครับ(ค่ะ) อยู่)
     /いいえ、いません。
(ไม่ ไม่อยู่)
5ใช้ 「何」เมื่อต้องการถามถึงสิ่งของหรือสัตว์ที่มีอยู่ และใช้ 「誰」 เมื่อต้องการถามถึงคนที่ดำรงอยู่
(7)A:何がありますか。
(มีอะไร)
  B:ノートがあります。
(มีสมุดโน้ต)
6 ใช้「ありません」「いません」ในการปฏิเสธการมีอยู่ ดำรงอยู่
7 กรณีกล่าวถึงการดำรงอยู่หรือปฏิเสธการดำรงอยู๋ในอดีต จะใช้รูป 「ありました」「いました」「ありませんでした」「いませんでした」
 
 
肯定形
(รูปบอกเล่า)
否定形
(รูปปฏิเสธ)
非過去
(ไม่ใช่อดีต)
あります
ありません
過去
(อดีต)
ありました
ありませんでした
非過去
(ไม่ใช่อดีต)
います
いません
過去
(อดีต)
いました
いませんでした
 
(8)A:誰がいましたか。
(มีใครอยู่)
  B:田中さんがいました。
(มีคุณทานากะ(อยู่))
(9)A:誰がいましたか。
(มีใครอยู่)
  B:誰もいませんでした。
(ไม่มีใครอยู่(เลย))
8 รูป「Nがありますか」สามารถใช้แสดงความประสงค์「Nがほしい」(อยากได้ N)
(10)(ものを借りたいとき)
((เวลาขอยืมของ))
   A:ペンがありますか。
(มีปากกาไหมครับ(คะ))
   B:はい、どうぞ。
(ครับ(ค่ะ) มี)
ส่วนเสริม
9 กรณีที่ N เป็นคำนามเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรืองานพิธีการ เทศกาล รูปประโยค「Nがあります」จะมีความหมายว่า มีเหตุการณ์หรืองานพิธีการ เทศกาลเกิดขึ้น
(11)A:先生、来週漢字の試験がありますか。
(อาจารย์ครับ(คะ) สัปดาห์หน้ามีสอบคันจิไหมครับ(คะ))
   B:はい、あります。水曜日ですよ。
(มี มี(สอบ)วันพุธนะ)
10 นอกจาก「います」จะใช้แสดงการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังสามารถใช้กับสิ่งต่อไปนี้ได้เช่นกัน
・สิ่งของที่เคลื่อนไหวได้คล้ายกับสิ่งมีชีวิต
 ตัวอย่าง :รถบัส(เวลาติดเครื่อง)、หุ่นยนต์(เวลาเคลื่อนไหว)
・สิ่งของที่มีลักษณะคล้ายคนหรือสัตว์ ใช้ในลักษณะบุคลาธิษฐาน
 ตัวอย่าง:ตุ๊กตา