東京外国語大学言語モジュール

終助詞(คำช่วยท้ายประโยค)

สิ่งที่ควรรู้
คำช่วยท้ายประโยค โดยปกติจะปรากฏที่ท้ายประโยค เพื่อแสดงท่าทีหรือทัศนะพร้อมกับการสื่อสารข้อมูลจากผู้พูดสู่ผู้ฟัง  ในที่นี้จะอธิบายเกี่ยวกับความหมายและการใช้ของคำช่วยท้ายประโยคหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
Ⅰ 「か」
สิ่งที่ควรรู้
1ใช้สร้างประโยคคำถาม
(1)あしたは日曜日ですか。
(พรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์หรือ)
รูปประโยคคำถามมีการใช้ในความหมายที่หลากหลาย รายละเอียดโปรดดู Vてくださいませんか」、「Vてもいいです」、「Nでもいいです/Nではだめです」、「Vませんか」
2 บางครั้งใช้ในรูป 「基本形+か」 ในกรณีที่พูดเกี่ยวกับการตัดสินใจบางอย่างของตัวเองให้กับตัวเองฟัง เป็นการบอกกับตัวเอง
(7)さあ、起きるか。
(เอาล่ะ จะตื่น(ล่ะนะ))
3 สามารถใช้แสดงความหมายในการยอมรับความจริงที่เพิ่งได้รับทราบหรือได้ประสบ ในขณะที่ก็รู้สึกประหลาดใจด้วย
(8)もう12時か。
(12โมงแล้วหรือนี่)
(9)あなたも二十歳になりましたか。
(คุณก็อายุยี่สิบแล้วหรือนี่)
ส่วนเสริม
4 กรณีที่ภาคแสดงเป็นคำนามหรือคุณศัพท์ナ(=กรณีที่อยู่ในรูป「です」) หากใช้ในรูปธรรมดา(คุณศัพท์ナ→โปรดดู「รูปธรรมดาของคำคุณศัพท์」、คำนาม→โปรดดู「รูปธรรมดาของคำนาม」) ให้ตัด「だ」 แล้วจึงเติม「か」
(กรณีรูปสุภาพจะต้องเติม「か」หลัง「です」 )
(10)だいじょうぶか。
(เป็นอะไรไหม)
(11)本か。
(หนังสือหรือ)
อย่างไรก็ดี รูปนี้ใช้ได้เฉพาะกรณีพิเศษ มิใช่ใช้ได้กับประโยครูปธรรมดาทุกประโยค รายละเอียดโปรดดู「疑問文の作り方」 (วิธีการสร้างประโยคคำถาม)
วิธีการสร้างประโยคคำถาม
1 จะต้องใช้「か」ในกรณีประโยคคำถามรูปสุภาพ และกรณีที่เป็นประโยคคำถามที่ให้ตอบ「はい・いいえ」 และภาคแสดงเป็นคำคุณศัพท์イ คูณศัพท์ナหรือ คำนาม (=กรณีที่อยู่ในรูป「です」)
(12)熱いですか。
(ร้อนไหม)
(13)(転んだ人に)だいじょうぶですか。
((ถามคนที่หกล้ม) เป็นอะไรหรือเปล่า)
(14)これは本ですか。
(นี่คือหนังสือหรือ)
¶(ในปัจจุบันมีผู้ที่ใช้ประโยคคำถามที่ไม่ใช้ 「か」แต่ใช้การยกเสียงสูงที่ท้ายประโยค「だいじょうぶです?(上昇調)」เพิ่มมากขึ้น แต่การใช้แบบนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการใช้ที่ถูกต้อง)
¶นอกจากนี้กรณีเป็นประโยคคำถามที่ให้ตอบ「はい・いいえ」 และลงท้ายด้วย 「でしょう」จะต้องใช้「か」 ไม่ว่าภาคแสดงจะเป็นคำประเภทใด (หากไม่ใช้ 「か」จะทำให้มีความหมายเป็นอย่างอื่น)
 
(15)田中さんはあした来るでしょうか。
(พรุ่งนี้คุณทานากะจะมาหรือเปล่า)
¶กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ กล่าวคือ กรณีที่เป็นประโยคคำถามที่มีคำแสดงคำถาม หรือกรณีที่ภาคแสดงเป็นคำกริยาและไม่มี 「でしょう」ต่อท้าย แม้ไม่มี 「か」ก็สามารถเป็นประโยคคำถามได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีนี้จะให้ความรู้สึกสนิทสนมคุ้นเคยเกินไป หรือทำให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนถูกตั้งคำถาม ดังนั้นจึงควรระวังในการใช้
(16)どれが大きいです?(上昇調)
(อันไหนใหญ่(ยกเสียงสูงที่ท้ายประโยค))
(17)どなたが山田さんです?(上昇調)
(คนไหนคือคุณยามาดะ(ยกเสียงสูงที่ท้ายประโยค))
(18)田中さんはいつ来るでしょう?(下降調)
(คุณทานากะจะมาเมื่อไหร่(ลงเสียงต่ำที่ท้ายประโยค))
(19)田中さんは来ました?(上昇調)
(คุณทานากะมาแล้ว(ยกเสียงสูงที่ท้ายประโยค))
2 สำหรับประโยคคำถามในบทสนทนาประโยครูปธรรมดา ปกติจะยกเสียงสูงที่ท้ายประโยคโดยไม่ใช้「か」 และในกรณีที่ภาคแสดงเป็นคำคุณศัพท์ ナหรือคำนามจะละ「だ」
(20)熱い?
(ร้อน?)
(21)どれが大きい?
(อันไหนใหญ่)
(22)だいじょうぶ?
(เป็นอะไรไหม)
(23)どの部屋が静か?
(ห้องไหนเงียบ)
(24)これは、本? 
(นี่ หนังสือ?)
(25)どなたが山田さん?
(คนไหนคือคุณยามาดะ)
(26)田中さんはあした来る?
(พรุ่งนี้คุณทานากะจะมาหรือเปล่า)
(27)田中さんはいつ来る?
(คุณทานากะจะมาเมื่อไหร่)
¶เมื่อใช้「か」ในประโยคคำถามรูปธรรมดา จะเป็นประโยคคำถามที่ไม่คำนึงถึงผู้ฟังเลยแม้แต่น้อย โดยมากจะเป็นสำนวนที่ผู้ชายใช้ นอกจากนี้สามารถใช้ในกรณีที่พูดกับผู้ที่อาวุโสน้อยกว่า เช่นลูกน้อง หรือนักเรียน หรือในการสนทนาระหว่างคนที่สนิทสนมกัน สำหรับกรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ หากใช้ก็จะเป็นการแสดงท่าทางอวดรู้อวดดี หรือการตั้งคำถามกับผู้ฟัง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ สำหรับกรณีที่ภาคแสดงเป็นคำคุณศัพท์ ナหรือคำนามจะตัด 「だ」แล้วจึงเติม「か」
(28)熱いか?
(ร้อน?)
(29)だいじょうぶか?
(เป็นอะไรไหม)
(30)これは本か?
(นี่ หนังสือ?)
(31)田中さんはあした来るか?
(พรุ่งนี้คุณทานากะจะมาหรือเปล่า)
3 สำหรับประโยคคำถามที่พูดหรือรำพึงกับตัวเอง และประโยคคำถามที่ให้ตอบ「はい・いいえ」 มักมี「だろうか」「かな」「のか」「のかな」「かしら」 ลงท้ายประโยค นอกจากนี้ประโยคคำถามที่มีคำแสดงคำถามบางครั้งลงท้ายด้วย「だろう」
(32)熱い{だろうか/かな/のかな/かしら}? 
(ร้อน(ไหมนะ))
(33)どれが大きい{だろう/だろうか/かな/のかな/かしら}?
(อันไหนใหญ่หนอ)
4 สามารถนำประโยคคำถามรูปธรรมดา「普通体+か」แทรกลงไปในประโยคเพื่อทำให้ประโยคคำถามนั้นกลายเป็นประโยคย่อยได้
(34)経済の状態はよくなるか、それが問題です。
(สภาพเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือไม่ นี่คือคำถาม)
(35)山田さんは、眠くなったのか、目をこすっています。
(คุณยามาดะขยี้ตา (เหมือนจะ)ง่วงนอนหรือเปล่า)
(36)買い物に出かけましたが、何を買うか、どこで買うか、わからなくなって困りました。
(ออกไปซื้อของ แต่ไม่รู้ว่าจะซื้ออะไร ซื้อที่ไหน ก็เลยลำบาก)
「誰か」「いつか」ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่าsomeone sometime มีการอธิบายว่ามาจากการที่ประโยคคำถามที่แทรกลงในประโยคเหล่านี้จนกลายมาเป็นคำนามหนึ่ง
 
Ⅱ 「かしら」
1ใช้สร้างประโยคคำถาม
(2)あしたは日曜日かしら。
(พรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์หรือ)
¶「かしら」โดยมากผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ใช้ บางครั้งผู้ชายก็ใช้แต่มักใช้ในกรณีที่เป็นการพูดกับตัวเองคนเดียว หรือการถามผู้ฟังในท่าทีคล้ายกับรำพึงกับตัวเอง
 
Ⅲ 「な」
ใช้ต่อหลังคำกริยารูปพจนานุกรม เพื่อแสดงความหมายของการสั่งห้าม
(3)さわるな。
(ห้ามจับ)
อนึ่ง สำนวนนี้ไม่ใช่สำนวนแบบสุภาพ ดังนั้นจึงควรระวังในการใช้
 
Ⅳ 「よ」
ใช้แสดงท่าทีของผู้พูดว่ากำลังพูดบางสิ่งให้ผู้ฟังฟัง ในขณะเดียวกันก็ชักจูงความสนใจของผู้ฟังด้วย
(4)あしたは日曜日ですよ。
(พรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์นะ)
(37)今行きますよ。
(ฉันก็คิดเช่นนั้นนะ)
(38)早く行きましょうよ。
(รีบไปกันเถอะนะ)
(39)早くやってくださいよ。
(รีบทำสิ)
เมื่อใช้「よ」 จะแสดงท่าทีว่ากำลังพูดบางสิ่งให้ผู้ฟังฟัง บางครั้งจึงมีนัยยะว่า "ผู้พูดมีสถานะสูงกว่า มีความรู้มาก" ดังนั้นเวลาที่ใช้「よ」 กับผู้ที่อาวุโสกว่าต้องระวัง
 
Ⅴ 「ね(ねえ)」
1 ใช้แสดงว่าต้องการตรวจสอบสิ่งนั้นกับตัวเองให้แน่ใจอีกครั้ง
(40)(時間を聞かれて、時計を確かめながら)3時ですね。
((ถูกถามเวลา พูดขณะมองนาฬิกา)3โมงแล้วนะ)
(5)わたしもそう思いますね。
(ฉันก็คิดเช่นนั้นนะ)
2 สามารถใช้ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลกับผู้ฟังให้แน่ใจ หรือต้องการความเห็นพ้องจากผู้ฟัง
(41)あしたは日曜日ですね。
(พรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์เนอะ)
(42)暑いですね。
(ร้อนเนอะ)
 
Ⅵ 「な(なあ)」
1 เป็นการพูดกับตัวเอง แสดงความหมายในการยอมรับ พร้อมกับรู้สึกประทับใจในสิ่งที่เพิ่งรับทราบหรือเพิ่งประสบ
(6)ああ、きれいだなあ。
(โอ้โห สวยจัง)
2 ใช้ร่วมกับ「か」ในการสร้างประโยคคำถามที่ใช้พูดกับตัวเอง
(43)おや、まちがえたかな。
(เอ๊ะ ทำผิดหรือเปล่านะ)
3 ประโยครูปธรรมดา(โปรดดูหัวข้อ 普通体ประโยครูปธรรมดา) สามารถใช้ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลกับผู้ฟังให้แน่ใจ หรือต้องการความเห็นพ้องจากผู้ฟัง
(44)あしたは日曜日だな。
(พรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์เนอะ)
(45)暑いな。
(ร้อนเนอะ)
¶การใช้แบบนี้เป็นการใช้ของผู้ชายเท่านั้น
¶บางครั้งใช้อยู่ในรูปสุภาพ แต่โดยมากผู้ชายวัยสูงอายุใช้
(46)きょうは暑いですな(あ)。
(วันนี้ร้อนจังหนอ)
 
ส่วนเสริม (เกี่ยวกับคำช่วยท้ายประโยคโดยรวม)
1 คำช่วยท้ายประโยคยังมีคำอื่นอีกดังต่อไปนี้ และเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นคำที่ใช้กับประโยครูปธรรมดา(โปรดดูหัวข้อ普通体ประโยครูปธรรมดา) หรือใช้เฉพาะเพศ ดังนั้นเวลาพูดด้วยประโยครูปสุภาพจึงไม่ควรใช้
 
・คำที่ส่วนใหญ่ผู้ชายใช้
(47)来たのは山田君さ。
(คนที่มาคือยามาดะน่ะ(ว่ะ))
(48)僕がやるぞ。
(ผมจะทำล่ะนะ)
(49)俺もやるぜ。
(กันก็จะทำล่ะนะ(โว้ย))
(50)よし、やるとも。 
(เอาล่ะ จะทำล่ะนะ)
(51)それは、僕がやるわ。(下降調)
(นั่น ผมจะทำ(ลงเสียงต่ำที่ท้ายประโยค))
・คำที่ส่วนใหญ่ผู้หญิงใช้
(52)それは、わたしがやるわ。(上昇調)
(นั่น ฉันจะทำนะ(ยกเสียงสูงที่ท้ายประโยค))
(53)きのう、コンサートに行きましたの。(以上、主に女性が使用)
(เมื่อวาน ไปคอนเสิร์ตมาล่ะ(ทั้งหมด คือคำที่ส่วนใหญ่ผู้หญิงใช้))
2 คำช่วยท้ายประโยคส่วนหนึ่ง ในกรณีที่ใช้กับคำนามหรือคุณศัพท์ナที่อยู่ในรูปธรรมดา จะสามารถตัด「だ」แล้วใช้คำช่วยท้ายประโยคต่อท้ายได้เลย ในอีกด้านหนึ่งคำช่วยท้ายประโยคบางคำจะต้องปรากฏต่อท้าย「だ」 หรือบางคำจะตัด 「だ」หรือไม่ขึ้นอยู่เพศของผู้พูด
・ต้องตัด「だ」 :か かしら さ 
・ต้องต่อท้าย「だ」:な(なあ) ぞ ぜ わ とも
・กรณีตัด「だ」(ส่วนมากผู้หญิงใช้)กรณีไม่ตัด「だ」(ส่วนมากผู้ชายใช้):よ ね(ねえ)
3 คำช่วยท้ายประโยคบางคำสามารถใช้ซ้อนกันหลายคำได้
(54)きょうは会議がありましたよね。
(วันนี้มีประชุมเนอะ)
(55)その仕事はわたしがやったわよ。(主に成人女性が使用)
(งานนั้น ฉันทำแล้วล่ะ(ส่วนใหญ่ผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ใช้))
(56)そういうこともあるわな。(主に成人男性が使用)
(เรื่องแบบนั้นก็มีด้วยนา(ส่วนใหญ่ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ใช้))
(57)なんだ、君かよ(かい)。(主に男性が使用)
(อะไรกัน เธอนี่เองหรือ(ส่วนใหญ่ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ใช้))
อย่างไรก็ดี ในประโยครูปสุภาพ คำที่ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมักใช้มีเพียงแค่「よね」  ส่วนคำช่วยท้ายประโยคอื่นนั้น บางคำไม่เหมาะสมกับประโยครูปสุภาพ หรือบางคำก็มีความหมายอื่นแฝงอยู่ ดังนั้นทางที่ดีคือไม่ใช้จะดีที่สุด
4 คำช่วยท้ายประโยคบางคำ ปรากฏแทรกระหว่างส่วนประกอบของประโยค เพื่อแสดงท่าทีในการนำเสนอหัวข้อหรือเนื้อความการสนทนาต่อผู้ฟัง
(58)わたしはね、きのうね、新宿へね、行ったんですよ。
(ฉันน่ะ เมื่อวานนะ ชินจุกุนะ ไปมาล่ะ)
¶อย่างไรก็ดี คำที่สามารถใช้กับประโยครูปสุภาพได้ มีเพียง「ね」 เท่านั้น ในกรณีนี้มักทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเป็นกันเองเกินไปเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ควรใช้
¶คำช่วยท้ายประโยคที่สามารถใช้แทรกระหว่างส่วนประกอบของประโยคมีดังต่อไปนี้ โดยปกติผู้ชายมักใช้กับรูปธรรมดา และให้ความรู้สึกเป็นกันเองอย่างมาก(หรืออาจหยาบคาย) ดังนั้นไม่ใช้จะดีที่สุด
(59)きのうな、新宿へな、……
(เมื่อวานนะ ชินจุกุนะ)
(60)きのうさ、新宿へさ、……
(เมื่อวานนะ ชินจุกุนะ(ว่ะ))
(61)きのうよ、新宿へよ、……
(เมื่อวานนะ ชินจุกุนะ)