東京外国語大学言語モジュール

副助詞(คำช่วยวิเศษณ์)

คำช่วยวิเศษณ์(คำช่วยเสริมความ คำเสริมความ)  ใช้ต่อหลังคำต่าง ๆ เพื่อเสริมความหมายพิเศษ ในที่นี้จะอธิบายเกี่ยวกับความหมายและการใช้ของคำช่วยวิเศษณ์หลัก ๆ ดังต่อไปนี้
Ⅰ 「は」(ออกเสียงว่า 「ワ」)
สิ่งที่ควรรู้
1 「~は」ใช้เสริมความเชิงเปรียบเทียบสิ่งที่ใช้คำช่วย 「~は」กับสิ่งอื่น
(11)ここにえんぴつがあります。赤いえんぴつは3本あります。青いえんぴつは2本あります。
(ที่นี่มีดินสอ ดินสอสีแดงมีสามแท่ง ดินสอสีน้ำเงินมีสองแท่ง)
(12)A:そこにかさとかばんがありますか。
(ตรงนั้นมีร่มกับกระเป๋าไหม)
   B:かさはありますが、かばんはありません。
(ร่มน่ะมี แต่กระเป๋าไม่มี)
(13)春は来ましたが、まだ暖かくなりません。
(ฤดูใบไม้ผลิมาถึงแล้ว แต่อากาศยังไม่อุ่นขึ้น)
(14)A:宿題をしてきましたか。
(ทำการบ้านมาหรือเปล่า)
   B:レポートは書きましたが、印刷はしていません。
(รายงานน่ะเขียนแล้ว แต่ยังไม่ได้พิมพ์ออกมา)
(15)山田さんはドイツ語は上手です。(フランス語は上手ではありません。)
(คุณยามาดะ ภาษาเยอรมันเก่ง (ภาษาฝรั่งเศสไม่เก่ง))
(16)きょうの会議に20人は集まりました。(それ以上集まったかどうかはわかりません。)
(การประชุมวันนี้ มาอย่างน้อย 20 คน(มาเกิน 20 คนหรือเปล่านั้นไม่รู้))
2 กรณีใช้ 「は」กับคำนามที่ใช้กับคำช่วย「が」 หรือ「を」(ガ格、ヲ格)จะไม่แสดงความหมายเชิงเปรียบเทียบ แต่มักแสดงความหมายว่า "ถ้าพูดถึงเรื่องนั้นแล้วล่ะก็" เรียก「は」ในกรณีนี้ว่า 「主題(題目topic)」(หัวเรื่อง)
(17)山田先生はやさしいです。
(อาจารย์ยามาดะใจดี)
(18)田中さんは社長です。
(คุณทานากะเป็นประธานบริษัท)
(19)わたしはきのう大学へ行きました。
(เมื่อวานฉันไปมหาวิทยาลัย)
(20)朝ごはんはもう食べました。
(อาหารเช้ากินแล้ว)
(21)たばこはやめました。
(บุหรี่ เลิกแล้ว)
 
Ⅱ 「も」
สิ่งที่ควรรู้
1 「~も」ใช้แสดงความหมายเสริมว่า"เรื่องนี้ก็เกิดขึ้นเช่นเดียวกับเรื่องอื่น"
(1)田中さんは学生です。佐藤さんも学生です。
(คุณทานากะเป็นนักเรียน คุณซาโต้ก็เป็นนักเรียน)
(22)暖かくなりましたし、桜も咲きました。
(อากาศอุ่นขึ้นแล้ว ดอกซากุระก็บานแล้ว)
(23)きょうのコンサートには100人も来ました。(70人、80人集まったのは当然として)
(คอนเสิร์ตวันนี้คนมาตั้ง100คน(การที่คนมารวมตัวกัน 70-80คนเป็นเรื่องธรรมดา))
(24)きょうは誰も来ませんでした。(太郎さんが来ない、次郎さんが来ない、…その上に)
(วันนี้ไม่มีใครมาเลย(คุณทาโร่ไม่มา คุณจิโร่ไม่มา ฯลฯ))
2 เป็นวิธีการใช้เพิ่มเติมของวิธีการใช้1 ข้างต้น กรณีนี้ใช้เสริมความหมายในการบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งโดยยกเป็นตัวอย่างซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องราวหลากหลายที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์นั้น
(25)時間も来ました。そろそろ終わりにしましょう。
(เวลาก็หมดแล้ว พอแค่นี้เถอะ)
(26)(おなかがすきました。みんな疲れています。……)
((หิวแล้ว ทุกคนกำลังเหนื่อยล้า))
   あなたもよく働きますね。
(คุณก็ทำงานดี(ขยันขันแข็ง)นะ(คุณก็ทำงานหนักเช่นเดียวกับคนอื่น))
 
Ⅲ 「だけ」「ばかり」
สิ่งที่ควรรู้
1 ใช้กับคำนามหรือกริยา เพื่อแสดงความหมายเสริมในการแยกแยะหรือระบุสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่นที่มีคุณลักษณะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
(2)佐藤さんだけ来ました。(鈴木さん、田中さん、木村さん……は来ませんでした。)
(คุณซาโต้เท่านั้นมา(คุณซูซูกิ คุณทานากะ คุณคิมุระฯลฯ ไม่มา))
(3)肉ばかり食べます。(ごはん、野菜……は食べません。)
(กินแต่เนื้อสัตว์(ข้าว ผัก ฯลฯ ไม่กิน))
(27)あとは寝るだけです。
(หลังจากนี้ ก็แค่นอนอย่างเดียว)
(28)言うだけで何もしません。
(ได้แต่พูด แต่ไม่ทำอะไรเลย)
(29)何を聞かれても泣くばかりです。
(ไม่ว่าถูกถามอะไร ก็เอาแต่ร้องไห้อย่างเดียว)
2 「だけ」ใช้กับคำนามหรือกริยา เพื่อแสดงระดับหรือปริมาณโดยประมาณของสิ่งนั้น
(30)食べたいだけ食べました。
(กินเท่าที่อยากกิน)
(31)日本語は勉強しただけじょうずになります。
(ภาษาญี่ปุ่น เรียน(มาก) ก็จะเก่งขึ้นเท่าที่เรียน)
(32)すきなだけ持っていってください。
(เอาไปเท่าที่ชอบ(เท่าที่อยากได้))
 
Ⅳ 「こそ」
สิ่งที่ควรรู้
ใช้กับคำนามหรือกริยา เพื่อเน้นคำนามนั้นให้โดดเด่นเป็นพิเศษ
(4)山田さんこそ会長にふさわしいです。
(คุณยามาดะเท่านั้นที่เหมาะสมกับตำแหน่งประธานกรรมการ)
(33)全力を尽くしてこそいい結果がでます。
(ทำอย่างสุดความสามารถเท่านั้น ผลลัพธ์จึงจะออกมาดี)
 
Ⅴ 「しか」
สิ่งที่ควรรู้
แสดงความหมายว่าสิ่งอื่นนอกจากนั้นไม่มี ไม่เกิดขึ้น (การปฏิเสธสิ่งอื่นนนอกจากนั้น) ภาคแสดงจะต้องอยู่ในรูปปฏิเสธ
(34)ジュースしかありません。
(มีเพียงน้ำผลไม้เท่านั้น)
(35)コアラはユーカリの葉しか食べません。
(หมีโคอาล่ากินเพียงใบยูคาลิปตัสเท่านั้น)
 
Ⅵ 「など」
สิ่งที่ควรรู้
1 ใช้กับคำนามหรือกริยา เพื่อแสดงความหมายแฝงว่ายังมีสิ่งอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันอีก แต่ไม่ได้กล่าวถึง
(6)机の上に本などがあります。
(บนโต๊ะมีหนังสือ ฯลฯ)
(36)辞書を引いたり、インターネットで調べるなどしました。
(เปิดพจนานุกรม ค้นทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ)
2 ใช้กับคำนามหรือกริยา เพื่อแสดงความหมายของการยกตัวอย่าง
(37)小泉氏などの政治家にインタビューしました。
(ได้สัมภาษณ์นักการเมืองเช่นคุณโคอิซูมิ)
(38)試験中にとなりの人と話すなどのことはしてはいけません。
(ระหว่างการสอบ ห้ามคุยกับคนข้าง ๆ ฯลฯ)
ส่วนเสริม
3 ข้อนี้เป็นวิธีการใช้ซึ่งเป็นการขยายมาจากวิธีการใช้ในข้อ 2
เป็นการแสดงการไม่ตัดสินชี้ชัดลงไป บางครั้งใช้แสดงความหมายแฝงว่าไม่สมควรนำมาพิจารณา
(39)お茶などいかがですか。
(ดื่มน้ำชา(หรืออะไร)ไหม)
(40)つまらない仕事などに時間を使いたくありません。
(ไม่อยากใช้เวลาไปกับงานที่ไร้สาระ)
 
Ⅶ 「でも」
สิ่งที่ควรรู้
1 ใช้กับคำนาม เพื่อแสดงการยกตัวอย่าง บางครั้งใช้แสดงการไม่ตัดสินชี้ชัดลงไป
(7)お茶でも飲みませんか。
(ดื่มน้ำชา(หรืออะไร)กันไหม)
2 ใช้กับคำหลากหลาย เพื่อแสดงเงื่อนไขที่ต่ำที่สุดในการเกิดสิ่งนั้น และมีความหมายแฝงว่าในการจะเกิดสิ่งนั้นยังมีเงื่อนไขอื่นที่ดีกว่าอีกมากมาย
(41)ボールペンを持ってこなかった人は、えんぴつでもいいです。(→「Nでもいいです/Nではだめです」)
(คนที่ไม่ได้เอาปากกาลูกลื่นมา (ใช้)ดินสอก็ได้)
(42)それでもだいじょうぶです。
(อันนั้นก็ได้)
(43)このアルバイトは、いそがしい人でもできます。
(งานพิเศษนี้ คนที่ยุ่งก็สามารถทำได้)
ส่วนเสริม
3 「だって」เป็นคำช่วยที่มีความหมายและวิธีการใช้เหมือนกับ 「でも」ในข้อ2
(44)そのくらいのことはわたしだってできます。
(เรื่องแค่นั้น ฉันก็ทำได้)
 
Ⅷ 「まで」
สิ่งที่ควรรู้
1  ใช้กับคำนาม เพื่อแสดงความหมายว่า"นั่นคือสิ่งเพิ่มเติมจากสิ่งอื่น" มีความหมายแฝงว่า "ขอบเขตได้ขยายไปถึงตรงนั้น สิ่งนั้น"
(8)佐藤さんや田中さんが来ました。山田さんまで来ました。
(คุณซาโต้ คุณทานากะ ฯลฯ มา กระทั่งคุณยามาดะก็มา)
2 ใช้กับคำนามฯลฯ เพื่อแสดงว่าการกระทำหรือสถานการณ์มาถึงขั้นหนึ่ง
(45)日本語を勉強して、留学生試験に合格するまでになりました。
(เรียนภาษาญี่ปุ่น จนกระทั่งสามารถผ่านการสอบสำหรับนักศึกษาต่างชาติได้แล้ว)
ส่วนเสริม
มีวิธีการใช้แบบคำช่วยแสดงหน้าที่ด้วย(→โปรดดูคำอธิบายⅤใน「格助詞」(คำช่วยแสดงหน้าที่))
 
Ⅸ 「さえ」
สิ่งที่ควรรู้
1 แสดงความหมายเสริมความ โดยส่วนใหญ่มีความหมายแฝงว่า "เกิด(เป็น)เรื่องที่โดยปกติไม่เกิด(ไม่เป็น)"
(9)佐藤さんや田中さんが来ました。山田さんさえ来ました。
(คุณซาโต้ คุณทานากะ ฯลฯ มา แม้คุณยามาดะก็มา)
2 ใช้กับคำที่อยู่ในประโยคย่อยที่แสดงเงื่อนไข แสดงความหมายว่าสิ่งนั้นเป็นเงื่อนไขต่ำสุดในการเกิดสิ่งนั้น คล้ายonly if ในภาษาอังกฤษ
(46)これさえあればだいじょうぶです。
(เพียงแค่มีสิ่งนี้ ก็ใช้ได้แล้ว)
(47)山田さんさえいたら、この試合には勝てるのに。
(หากแม้มีคุณยามาดะอยู่ การแข่งขันครั้งนี้ก็คงจะชนะได้)
 
Ⅹ 「くらい(ぐらい)」「ほど」
สิ่งที่ควรรู้
1 ใช้กับคำนาม เป็นการแสดงปริมาณโดยประมาณ
(10)10人くらい来ました。
(มาประมาณ10คน)
(48)これくらいの大きさです。
(ขนาดใหญ่ประมาณนี้)
(49)5分ほど待ってください。
(รอประมาณห้านาที)
2 สามารถใช้แสดงระดับโดยประมาณได้เช่นกัน
(50)そのくらいのことは自分でできます。
(เรื่องแค่นี้ ฉันสามารถทำเองได้)
(51)山田さんくらい頭のいい人はいません。
(คนที่หัวดีขนาดคุณยามาดะนั้น ไม่มี)
(52)富士山はエベレストほど高くはありません。
(ภูเขาฟูจิไม่สูงเท่าเอเวอเรสต์)
ⅩⅠ เกี่ยวกับคำช่วยวิเศษณ์โดยรวม (เพิ่มเติม)
ส่วนเสริม
1 คำช่วยวิเศษณ์สามารถใช้กับ「名詞+助詞」
(53)君にだけ話しましょう。
(บอกเธอ(เพียงคนเดียว)เท่านั้น)
(54)太郎君とさえ話ができなかった。
(คุยไม่ได้แม้แต่กับทาโร่)
สามารถใช้คำช่วยวิเศษณ์ต่อท้ายคำนามได้โดยตรงโดยไม่ต้องมีคำช่วยแสดงหน้าที่ ในกรณีที่เป็นคำนามที่ใช้คำช่วย「が」 หรือ「を」(ガ格、ヲ格)แต่สำหรับกรณีที่เป็นคำช่วยแสดงหน้าที่อื่น เช่น「に」「へ」「まで」 ปกติจะเติมคำช่วยวิเศษณ์ต่อท้ายคำช่วยแสดงหน้าที่เหล่านั้น
2 คำช่วยวิเศษณ์ส่วนหนึ่งของ「名詞+副助詞」ทำหน้าที่เสมือนคำนามหนึ่งคำ ในกรณีนี้จะใช้กับคำช่วยแสดงหน้าที่ต่อไปนี้
(55)君だけに話しましょう。
(บอกเธอ(เพียงคนเดียว)เท่านั้น)
(56)それくらいがちょうどいいです。
(ประมาณนั้น กำลังดี)
3 「こそ」สามารถใช้ต่อท้ายคำช่วยสันธาน「ば」「から」
(57)あなたのことを思えばこそ(思うからこそ)言うのです。
(เมื่อนึก(เพราะคิด)ถึงเรื่องของคุณ จึงพูด)