東京外国語大学言語モジュール

Vていきます/Vてきます

สิ่งที่ควรรู้
1 รูป「Vていきます」(普通形รูปธรรมดา「Vていく」)、「Vてきます」(普通形รูปธรรมดา「Vてくる」)สร้างด้วยการเติม「いきます」、「きます」หลัง 「Vて」
 
 
Vて
いきます
 
(1)駅まで歩いていきます。
(เดินไปจนถึงสถานีรถไฟ)
(2)これからも日本語を勉強していきます。
(จากนี้ไปก็จะเรียนภาษาญี่ปุ่นต่อไป)
 
Vて
きます
 
(3)おみやげを持ってきました。
(นำของฝากมา)
(4)高校の友だちがメールを送ってきました。
(เพื่อนสมัยเรียนมัธยมปลายส่งอีเมล์มา)
(5)日本語を学ぶ人が増えてきました。
(คนเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมา)
2 「Vていきます」「Vてきます」สามารถใช้แสดงทิศทางการเคลื่อนที่เชิงกายภาพโดยยึดมุมมองของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในประโยค เช่นมุมมองของผู้พูด  และสามารถใช้แสดงการเคลื่อนไหวเชิงเวลาหรือแสดงความคืบหน้าของเรื่องราวหรือเหตุการณ์จากจุดเวลาที่เฉพาะเจาะจงจุดหนึ่ง
กรณีแสดงทิศทางการเคลื่อนที่
3 「Vていきます」ใช้ในกรณีการกระทำ หรือเรื่องราวเหตุการณ์เป็นการเคลื่อนที่ในทิศทางออกจากศูนย์กลาง เคลื่อนออกจากจุดเวลาที่พูดของผู้พูด ส่วน「Vてきます」 ใช้ในกรณีการกระทำ หรือเรื่องราวเหตุการณ์เป็นการเคลื่อนที่ในทิศทางจากด้านนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง เคลื่อนเข้าสู่จุดเวลาที่พูด
(1)駅まで歩いていきます。
(เดินไปจนถึงสถานีรถไฟ)
(3)おみやげを持ってきました。
(นำของฝากมา)
4 กรณีกล่าวถึงการเคลื่อนที่ของผู้พูดไปสู่ทิศทางของผู้ฟัง ใช้「Vていきます」
(6)来週そちらへ行くとき、飲み物を買っていきます。 
(สัปดาห์หน้าตอนไปที่นั่น(หาคุณ) จะซื้อเครื่องดื่มไป)
(6)’×来週そちらへ行くとき、飲み物を買ってきます。
(’×สัปดาห์หน้าตอนไปที่นั่น(หาคุณ) จะซื้อเครื่องดื่มมา)
5 「Vていきます」「Vてきます」มีวิธีการใช้และความหมายที่หลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะของคำกริยาที่อยู่ข้างหน้า
 
①กรณีกริยาหน้า「ていきます」「てきます」เป็นกริยาแสดงการเคลื่อนที่ เช่น  「歩く、走る、泳ぐ」กริยาเหล่านี้จะแสดงวิธีการเคลื่อนที่
(1)駅まで歩いていきます。
(เดินไปจนถึงสถานีรถไฟ)
¶สถานที่ในการเคลื่อนผ่านแสดงด้วย「Nを」
(7)駅前の通りを歩いてきました。
(เดินมาตามถนนหน้าสถานีรถไฟ)
¶กริยาเหล่านี้โดยลำพังสามารถแสดงการเคลื่อนที่ได้อยู่แล้ว ดังนั้นกรณีกล่าวถึงการเคลื่อนที่ในอดีตของผู้พูด หรือการเคลื่อนที่ของบุคคลที่สาม จึงมักไม่ใช้สำนวน「ていきます、てきます」
(1)’駅まで歩きました。
(’เดินจนถึงสถานีรถไฟ)
②เมื่อใช้ 「ていきます」「てきます」กับกริยาเช่น「着る、持つ」 กรณีนี้「ていきます」「てきます」แสดงการเคลื่อนที่โดยกล่าวถึงสภาพผลของการกระทำนั้น
(3)おみやげを持ってきました。
(นำของฝากมา)
③เมื่อใช้ 「ていきます」「てきます」กับกริยาแสดงการกระทำทั่วไปเช่น「食べる、買う」กรณีนี้「ていきます」「てきます」จะแสดงการเคลื่อนที่ที่เกิดหลังจากกระทำกริยา「食べる、買う」นั้นแล้ว กรณีไม่ให้ความสนใจกับการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นหลังจากการกระทำกริยานั้น ก็สามารถใช้กริยาเพียงลำพังได้ แต่กรณีที่ให้ความสนใจกับการเคลื่อนที่หรือกรณีกล่าวถึงผลการกระทำที่ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงสถานที่ที่พูดประโยคนั้น มักใช้ 「Vていきます」「Vてきます」เพราะเป็นธรรมชาติกว่า โดยเฉพาะ กรณีกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นนอกสถานที่ที่พูด มักใช้「Vてくる」
(8)授業まで時間があるので、朝のニュースを見ていきます。
(ยังมีเวลากว่าจะถึงเวลาเรียน ดังนั้นจึงดูข่าวเช้า(แล้วค่อย)ไป)
(9)きょうは友だちと夕飯を食べてきました。
(วันนี้ กินอาหารเย็นกับเพื่อนมา)
6กริยาแสดงการเคลื่อนที่ของสิ่งของหรือกริยาที่แสดงความหมายเคลื่อนที่อันสืบเนื่องจากการกระทำ เช่น「品物を送る、手紙を書く、電話をかける」ไม่สามารถใช้แสดงการเคลื่อนที่เข้าสู่ทิศทางของผู้ฟังได้หากใช้เพียงลำพัง ดังนั้นในกรณีนี้จะต้องใช้ 「Vてきます」
(4)高校の友だちがメールを送ってきました。
(เพื่อนสมัยเรียนมัธยมปลายส่งอีเมล์มา)
กรณีการเคลื่อนที่เชิงเวลาของเหตุการณ์
7 「Vてきます」「Vていきます」ใช้ในการแสดงการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่ โดยยึดเกณฑ์ณจุดเวลาหนึ่ง 「Vてきます」เป็นการเคลื่อนที่จากจุดเวลาก่อนหน้าเวลาที่ใช้เป็นเกณฑ์ เข้าสู่จุดเวลาที่ใช้เป็นเกณฑ์ (ตัวอย่าง(5)) ส่วน「Vていきます」 เป็นการเคลื่อนที่จากจุดเวลาที่ใช้เป็นเกณฑ์ ไปสู่เวลาหลังจุดเวลาเกณฑ์(ตัวอย่าง(2))
(2)これからも日本語を勉強していきます。
(จากนี้ไปก็จะเรียนภาษาญี่ปุ่นต่อไป)
(5)日本語を学ぶ人が増えてきました。
(คนเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมา)
8 รูปของ「Vてきます、Vていきます」จะขึ้นกับเวลาที่ใช้เป็นเกณฑ์ว่าเป็นเวลาปัจจุบัน อดีต หรืออนาคต
 
9 เมื่อใช้ 「Vてきます」「Vていきます」ร่วมกับกริยาที่แสดงการเปลี่ยนแปลง เช่น 「増える、変わる、(雪が)解ける」จะแสดงสภาพการเปลี่ยนแปลงที่ค่อย ๆ ดำเนินไป
(5)日本語を学ぶ人が増えてきました。
(คนเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมา)
ส่วนเสริม
10 คำกริยา「教える、売る」 เป็นกริยาประเภทที่มีโครงสร้าง「〔人〕が〔人〕に〔もの〕を~」 เช่นเดียวกับกริยา「送る」กริยาดังกล่าวนี้จะไม่ใช้กับ「Vてきます」 หากใช้「Vてきます」 จะมาความหมายในเชิงบังคับ รุกราน ให้ความรู้สึกว่า "ทั้งที่ไม่จำเป็น แต่ก็ทำ…"  เนื่องจากกริยาเช่น「教える」 มีกริยาคู่เช่น 「教わる、買う」ซึ่งผู้รับจะเป็นประธานของประโยค
(10)木村さんはわたしに古本を売ってきました。 
(คุณคิมุระขายหนังสือเก่าแก่ฉัน)
(10)’わたしは木村さんから古本を買いました。
(’ฉันซื้อหนังสือเก่าจากคุณคิมุระ)