東京外国語大学言語モジュール

Vてあげます

สิ่งที่ควรรู้
1 「Vてあげます」(普通形รูปธรรมดา「Vてあげる」)「Vてくれます」(普通形รูปธรรมดา「Vてくれる」)「Vてもらいます」(普通形รูปธรรมดา「Vてもらう」)สร้างด้วยการนำ 「あげます」「くれます」「もらいます」ต่อหลังกริยารูป「Vて」
2 โครงสร้างประโยคเป็นดังนี้ กรณีN1 เป็นผู้พูด หรือกรณีที่เป็นที่เข้าใจได้จากบริบทว่าN2หมายถึงใคร ก็สามารถละได้
 
N1*
[与え手]
(ผู้ให้)
N2
[受け手]
(ผู้รับ)
にetc.
Vて
あげます
 
(1)わたしは小林さんにノートを貸してあげました。
(ฉันให้สมุดโน้ตคุณโคบายาชิยืม)
 
N1
[与え手]
(ผู้ให้)
N2*
[受け手]
(ผู้รับ)
にetc.
Vて
くれます
 
(2)小林さんはわたしに友だちを紹介してくれました。
(คุณโคบายาชิแนะนำเพื่อนให้ฉัน)
 
N2*
[受け手]
(ผู้รับ)
N1
[与え手]
(ผู้ให้)
にetc.
Vて
もらいます
 
(3)木村さんに本を貸してもらいました。
(ได้รับการให้ยืมหนังสือจากคุณคิมุระ(คุณคิมุระให้ฉันยืมหนังสือ))
「Vてあげます・Vてくれます」
3 「Vてあげます・Vてくれます」ใช้ในกรณีที่ผู้พูดคิดว่าสิ่งที่ประธานของประโยคทำนั้นเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับบุคคลที่เป็นผู้รับการกระทำนั้น หรือบุคคลที่แสดงด้วย「~のために」หรือ「~の代わりに」
(1)わたしは小林さんにノートを貸してあげました。
(ฉันให้สมุดโน้ตคุณโคบายาชิยืม)
(2)小林さんはわたしに友だちを紹介してくれました。
(คุณโคบายาชิแนะนำเพื่อนให้ฉัน)
¶สำหรับสำนวนข้างต้นหากใช้อยู่ในรูป「Vます」 ความหมายของการรู้สึกขอบคุณ สำนึกบุญคุณจะน้อยลง นอกจากนี้ 「Vてあげます」มีความหมายแฝงของการลำเลิกบุญคุณ ดังนั้นหากในกรณีที่ผู้รับเป็นผู้ฟัง ควรระวังการใช้ 
(1)’わたしは小林さんにノートを貸しました。
(’ฉันให้สมุดโน้ตคุณโคบายาชิยืม)
(2)’小林さんはわたしに友だちを紹介しました。
(’คุณโคบายาชิแนะนำเพื่อนให้ฉัน)
4 ในประโยค「Vてあげます・Vてくれます」ไม่ใช่ว่าผู้รับประโยชน์(ผู้รับบุญคุณ) จะใช้คำแสดงหน้าที่「Nに」หรือ「~のために」ทุกกรณี ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อจำกัดตามกฎต่อไปนี้
 
① กรณีที่「Nを」「Nに」「Nと」เป็นส่วนประกอบของคำกริยา สามารถใช้ตามนั้นได้เลย
(4)わたしは弟にお金を貸してあげました。
(ฉันให้เงินน้องชายยืม)
(5)田中さんはわたしにパソコンの使い方を教えてくれました。
(คุณทานากะสอนวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ให้ฉัน)
(6)わたしは生徒をほめてあげました。
(ฉันชมนักเรียน)
(7)山田さんは息子と遊んでくれました。
(คุณยามาดะเล่นกับลูกชายให้)
②กรณีที่มีความหมายของ「何かを作る」(สร้างบางสิ่ง) จะใช้「Nに」แสดงผู้ที่ได้รับสิ่งที่เป็นผลิตผลจากการสร้างนั้น
(8)妹は父にお弁当を作ってあげました。
(น้องสาวทำอาหารปิ่นโตให้พ่อ)
(9)母はわたしにてぶくろをあんでくれました。
(แม่ถักถุงมือให้ฉัน)
③กรณี「Nを」เป็นสิ่งของของผู้ได้รับประโยชน์ จะใช้「Nの」แสดงผู้รับประโยชน์
(10)わたしは妹の宿題を見てあげました。
(ฉันดูการบ้านให้น้องสาว)
(11)木村さんはわたしの荷物を運んでくれました。
(คุณคิมุระขนของให้ฉัน)
④ กรณีที่นอกเหนือจาก①~③ ข้างต้น จะใช้「~ために」(ตัวอย่าง (12))หรือ「~に代わって」(ตัวอย่าง(13))
(12)山田さんはわたしのために詩を書いてくれました。
(คุณยามาดะแต่งกลอนเพื่อฉัน)
(13)わたしはかぜをひいた小林さんに代わってレポートを出してあげました。
(ฉันส่งรายงานแทนให้คุณโคบายาชิที่เป็นหวัด)
「Vてもらいます」
5 「Vてもらいます」เป็นสำนวนแสดงบุญคุณโดยN1เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการกระทำ  โดยหลักแล้ว「Nに」แสดงผู้ที่กระทำสิ่งนั้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์ซึ่งเป็นประธานของประโยคนั้นโดยปกติจะเป็นผู้พูด ดังนั้นจึงมักละประธาน
(3)木村さんに本を貸してもらいました。
(ได้รับการให้ยืมหนังสือจากคุณคิมุระ(คุณคิมุระให้ฉันยืมหนังสือ))
(14)小林さんに手伝ってもらいました。
(ได้รับการช่วยเหลือจากคุณโคบายาชิ)
6 สำนวนเช่น「貸してもらいます」หรือ「教えてもらいます」สามารถใช้「借りる」หรือ「教わる」 ซึ่งเป็นสำนวนจากมุมมองของผู้รับ แต่ความหมายในเชิงบุญคุณ ความรู้สึกขอบคุณจะอ่อนลง
(3)木村さんに本を貸してもらいました。 → 木村さんに本を借りました。
(ได้รับการให้ยืมหนังสือจากคุณคิมุระ→ ขอยืมหนังสือจากคุณคิมุระ)
(15)母に料理を教えてもらいました。 → 母に料理を教わりました。
(ได้รับการสอนการทำอาหารจากแม่ → เรียนการทำอาหารจากแม่)
การใช้ 「Vてくれます」และ「Vてもらいます」
7 สามารถใช้「Vてもらいます」ในกรณีที่N1 มีความตั้งใจในการจะทำให้เกิดสิ่งนั้นขึ้น มีความหมายในลักษณะ "ให้N2ทำและในขณะเดียวกันประธานN1ก็ได้รับผลประโยชน์และรู้สึกขอบคุณ" แต่ 「Vてくれます」ไม่สามารถใช้ในกรณีที่มีความหมายให้ทำ「Vさせる」นี้ได้ (ตัวอย่าง(18)’)
(16)日本語は木村さんに教えてもらおう。
(ภาษาญี่ปุ่น ตั้งใจจะให้คุณคิมุระสอนให้)
(17)あした来てもらうよ。
(พรุ่งนี้ มา(ให้ได้)นะ)
(18)レポートはみなさんに出してもらうことにします。
(รายงาน ตกลงให้ทุกคนส่ง)
(18)’×レポートはみなさんが出してくれることにします。
(’×รายงาน ตกลงให้ทุกคนส่งให้)
กรณีใช้「Nから」แสดงผู้กระทำ
8 ผู้กระทำ นอกจากแสดงด้วย「Nに」 แล้วยังสามารถแสดงด้วย「Nから」ได้เช่นกัน กรณีใช้「Nから」 คำกริยาจะต้องเป็นกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่ของสิ่งของ(รวมถึงการถ่ายทอดคำพูด ความรู้ที่เป็นนามธรรมด้วย) เช่น 「送る、届ける」หรือ「教える、ほめる、話しかける」(ตัวอย่าง(19)(20))กรณีที่เป็นคำนามแสดงสถานที่เช่น「京都」 ใช้「Nから」 จะเหมาะสมและเป็นธรรมชาติมากกว่า(ตัวอย่าง(21))
(19)京都の友だちからおかしを送ってもらいました。 
(ได้รับการส่งขนมมาจากเพื่อนที่เกียวโต(เพื่อนที่เกียวโตส่งขนมมาให้))
(19)’京都の友だちにおかしを送ってもらいました。
(’ได้รับการส่งขนมมาจากเพื่อนที่เกียวโต(เพื่อนที่เกียวโตส่งขนมมาให้))
(20)その知らせは田中さんから教えてもらいました。 
(ข่าวนั้น ได้รับการแจ้งจากคุณทานากะแล้ว(ข่าวนั้น คุณทานากะแจ้งฉันแล้ว))
(20)’その知らせは田中さんに教えてもらいました。
(’ข่าวนั้น ได้รับการแจ้งจากคุณทานากะแล้ว(ข่าวนั้น คุณทานากะแจ้งฉันแล้ว))
(21)京都からおかしを送ってもらいました。 
(ได้รับการส่งขนมมาจากเกียวโต)
(21)’?京都におかしを送ってもらいました。
(’?ได้รับการส่งขนมมาจาก(ถึง)เกียวโต)
รูปภาษาสุภาพ
9 รูปภาษาสุภาพ มีดังต่อไปนี้
非敬語形
(รูปปกติ)
敬語形
(รูปภาษาสุภาพ)
Vてあげます
Vてさしあげます
Vてくれます
Vてくださいます
Vてもらいます
Vていただきます
 
「Vてさしあげます」(普通形รูปธรรมดา「Vてさしあげる」)เป็นรูปภาษาสุภาพเชิงยกย่อง-ถ่อมตัวของ「Vてあげます」、「Vてくださいます」(普通形รูปธรรมดา「Vてくださる」)เป็นรูปภาษาสุภาพเชิงยกย่อง-ถ่อมตัวของ「Vてくれます」、「Vていただきます」(普通形รูปธรรมดา「Vていただく」)เป็นรูปภาษาสุภาพเชิงยกย่อง-ถ่อมตัวของ「Vてもらいます」
「Vてもらいます」ให้ความรู้สึกสุภาพมากกว่า「Vてくれます」 เนื่องจากไม่ได้นำผู้กระทำมาเป็นประธานของประโยค
(22)田中先生にペンを貸してさしあげました。
(ให้ปากกาอาจารย์ทานากะยืม)
(23)鈴木先生はわたしに推薦状を書いてくださいました。
(อาจารย์ซูซูกิเขียนจดหมายรับรองให้ฉัน)
(24)わたしは鈴木先生に推薦状を書いていただきました。
(ฉันได้รับการเขียนจดหมายรับรองจากอาจารย์ซูซูกิ(อาจารย์ซูซูกิเขียนจดหมายรับรองให้ฉัน))
10ไม่ใช้ 「Vてさしあげます」ในการพูดโดยตรงกับผู้ที่มีอาวุโสหรือมีสถานะสูงกว่า กรณีนี้ใช้รูปขอร้อง หรือรูปถ่อมตัวแทน
?先生、ペンを貸してさしあげましょうか。 → 先生、ペンをお貸ししましょうか。
(?อาจารย์ ให้ยืมปากกาเอาไหมครับ(คะ) → อาจารย์ ให้ยืมปากกาไหมครับ(คะ))
「Vてやります」
11 ใช้「Vてやります」(普通形รูปธรรมดา「Vてやる」)กรณีผู้รับการกระทำ「Vてあげる」ไม่ใช่บุคคล เช่นเป็นดอกไม้ หรือสุนัข หรือในกรณีที่ผู้รับเป็นผู้มีอาวุโสหรือสถานะต่ำกว่าผู้ให้
(25)弟に弁当を作ってやりました。
(ทำอาหารปิ่นโตให้น้องชาย)