東京外国語大学言語モジュール

逆接(การขัดแย้ง)

สิ่งที่ควรรู้
การสร้างประโยค
1 การสร้างประโยคความซ้อนด้วยการเชื่อมประโยคความเดียวS1กับประโยคความเดียวS2เพื่อแสดงความสัมพันธ์เชิงขัดแย้ง มีวิธีการดังนี้
「のに」ใช้เชื่อมกับ「กริยารูปธรรมดา 、คุณศัพท์ イรูปธรรมดา、คุณศัพท์ ナ+な、คำนาม+な」
「けれども」ใช้เชื่อมได้ทั้งรูปธรรมดาและรูปสุภาพ แต่「のに」ไม่ใช้กับรูปสุภาพ
 
(1)一生懸命勉強したのに試験に落ちました。
(ทั้งที่ตั้งใจเรียน แต่สอบตก)
(2)このメロンは大きいのに安いです。
(ทั้งที่แตงแคนตาลูปนี้ผลใหญ่ แต่ราคาถูก)
 
 
(3)毎日日本語を勉強しているけれども、なかなか漢字が覚えられません。
(เรียนภาษาญี่ปุ่นทุกวัน แต่จำคันจิไม่ค่อยได้)
(4)山田さんはいつも元気ですけれども、きょうは静かです。
(คุณยามาดะปกติร่าเริง(แข็งแรง) แต่วันนี้เงียบ)
ความหมายของ「のに」กับ「けれども」
2 「のに」・「けれども」ใช้แสดงความขัดแย้งในความเป็นจริง
「のに」ใช้แสดงว่าผลที่เกิดขึ้นในS2เป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับสิ่งที่คาดจากS1 ส่วนใหญ่มักแสดงความหมายแฝงของความไม่พอใจหรือประหลาดใจต่อผลที่เกิดขึ้น
(1)一生懸命勉強したのに試験に落ちました。
(ทั้งที่ตั้งใจเรียน แต่สอบตก)
(2)このメロンは大きいのに安いです。
(ทั้งที่แตงแคนตาลูปนี้ผลใหญ่ แต่ราคาถูก)
(5)きょうは日曜日なのに仕事があります。
(ทั้งที่วันนี้เป็นวันอาทิตย์ แต่มีงาน)
(6)さっき食べたのにもうおなかがすきました。
(ทั้งที่เพิ่งกินเมื่อกี้ แต่หิวอีกแล้ว)
¶「けれども」ไม่มีความหมายแฝงของความประหลาดใจ ไม่พอใจ หรือคาดไม่ถึงต่อผลที่เกิดในS2 ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับสิ่งที่คาดไว้
(3)毎日日本語を勉強しているけれども、なかなか漢字が覚えられません。
(เรียนภาษาญี่ปุ่นทุกวัน แต่จำคันจิไม่ค่อยได้)
(4)山田さんはいつも元気ですけれども、きょうは静かです。
(คุณยามาดะปกติร่าเริง(แข็งแรง) แต่วันนี้เงียบ)
(7)雨が降ったけれども予定通り運動会をしました。
(ฝนตก แต่ได้ทำการแข่งขันกีฬาตามกำหนด)
3 S2 ในประโยค「のに」โดยพื้นฐานต้องป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นจึงไม่ใช้ในรูปสำนวน①、②、③ต่อไปนี้ ในขณะที่ S2 ใน「けれども」ไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว
 
①สำนวนแสดงความตั้งใจ ขอร้อง คำสั่ง เป็นต้น
(8)もう夜の12時だけれども、もう少し勉強しよう。
(เที่ยงคืนแล้ว แต่ตั้งใจจะอ่านหนังสือเรียนอีกหน่อย)
(8)’×もう夜の12時なのに、もう少し勉強しよう。
(’×ทั้งที่เที่ยงคืนแล้ว แต่ตั้งใจจะอ่านหนังสือเรียนอีกหน่อย)
②สำนวนแสดงการประเมิน คาดคะเนของผู้พูด เช่น 「だろう」「かもしれない」
(9)小林さんはかぜをひいているけれども、学校に来ているかもしれません。
(คุณโคบายาชิเป็นหวัด แต่อาจจะมาโรงเรียนก็ได้)
(9)’×小林さんはかぜをひいているのに、学校に来ているかもしれません。
(’×ทั้งที่คุณโคบายาชิเป็นหวัด แต่อาจจะมาโรงเรียนก็ได้)
③สำนวนแสดงคำถาม
(10)日曜日だけれども、学校に行きますか。
(เป็นวันอาทิตย์ แต่จะไปโรงเรียนไหม)
(10)’×日曜日なのに、学校に行きますか。
(’×ทั้งที่เป็นวันอาทิตย์ แต่จะไปโรงเรียนไหม)
แต่กรณี 「行くんですか」สามารถใช้「のに」 ได้
4 「けれども」ไม่แสดงความหมายขัดแย้งอย่างแจ่มชัดเท่าไหร่นัก ดังนั้นบางครั้งจะใช้ในการเรียงลำดับแสดงการเปรียบเทียบระหว่างS1 กับ S2
(11)わたしは東京に住んでいるけれども、弟は京都に住んでいます。
(ฉันอาศัยอยู่ที่โตเกียว แต่น้องชายอาศัยอยู่ที่เกียวโต)
สำนวนที่ความหมายคล้ายกับ 「けれども」
5 「けれど、けど、が」มีความหมายเหมือน「けれども」 แต่「けれど」เป็นภาษาพูดมากกว่า「けれども」และ「けど」เป็นภาษาพูดมากที่สุด 「~が」ใช้ได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด
(3)’毎日日本語を勉強している{けれども/けれど/けど/が}、なかなか漢字が覚えられません。
(เรียนภาษาญี่ปุ่นทุกวัน แต่จำคันจิไม่ค่อยได้)
(4)’山田さんはいつも元気です{けれども/けれど/けど/が}、きょうは静かです。
(คุณยามาดะปกติร่าเริง(แข็งแรง) แต่วันนี้เงียบ)
ส่วนเสริม
6 ในข้อ3①ข้างต้น ได้กล่าวแล้วว่าS2ไม่สามารถอยู่ในรูปประโยคขอร้อง คำสั่ง แต่ S2ในประโยค「のに」สามารถใช้ในรูปสำนวนสั่งห้ามเชิงคำสั่งหรือขอร้องให้ไม่ทำบางสิ่งได้ อย่างไรก็ตามใช้ได้เฉพาะกรณีพูดกับบุคคลที่กำลังจะกระทำการสิ่งนั้น
(12)わたしが話しているのに、じゃまをしないでください。
(ฉันกำลังพูดอยู่ อย่ารบกวน)
7 「のに」มีวิธีการใช้ที่เรียกว่าการใช้แบบคำช่วยท้ายประโยคซึ่งกล่าวเฉพาะส่วนที่เป็นS1เท่านั้น กรณีนี้โดยปกติส่วนที่เป็นS2จะเป็นสถานการณ์หรือเนื้อหาการพูดของผู้ฟัง 「のに」ในกรณีนี้แสดงความประหลาดใจ คาดไม่ถึงต่อสถานการณ์หรือเนื้อหาที่ผิดคาด มากกว่าการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นมูลฐานในการคาดคะเนในS1
(13)A:鈴木さんから電話ですよ。
(โทรศัพท์จากคุณซูซูกิน่ะ)
  B:えっ、もう夜の11時なのに。
(หา ห้าทุ่มแล้วเนี่ยนะ)
8 สำนวนที่มีความหมายเหมือน「けれども」มีวิธีการใช้ที่ไม่แสดงความหมายขัดแย้งด้วย ใช้กับS1เพื่อแสดงหัวข้อเรื่องที่จะกล่าวถึงในS2(ตัวอย่าง(14))ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นมูลฐานในการสันนิษฐาน(ตัวอย่าง(15))หรือใช้ในการเกริ่นล่วงหน้าเพื่อขอร้องหรือถามผู้ฟัง(ตัวอย่าง(16))จากการใช้ดังกล่าวอาจเรียกสำนวนนี้ในความหมายกว้าง ๆ ว่าสำนวนเกริ่นนำ
(14)レポートのことですけれども、来週の月曜日に提出してください。
(เรื่องรายงานน่ะ ให้ส่งวันจันทร์หน้า)
(15)日本中を旅行しましたけれども、京都が一番すきです。
(ท่องเที่ยวทั่วญี่ปุ่นแล้ว แต่ชอบเกียวโตที่สุด)
(16)すみませんが、郵便局はこの辺ですか。
(ขอโทษ (มี)ไปรษณีย์อยู่แถวนี้ไหม)
9 「けれども」มีวิธีการใช้ที่เรียกว่าการใช้แบบคำช่วยท้ายประโยคซึ่งกล่าวเฉพาะส่วนที่เป็นS1 กรณีนี้สามารถกล่าวเพียงส่วนเกริ่นนำได้ ส่วนหลังต่อจากนั้นปล่อยให้ผู้ฟังคิดเอง ดังนั้นจึงมักใช้ในการถามหรือขอร้อง
(17)すみません、パソコンが動かないのですけれども。
(ขอโทษ คอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน)
(17)’すみません、パソコンが動かないのですけれども、見てもらえますか。
(ขอโทษ คอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน ช่วยดูให้หน่อยได้ไหม)