東京外国語大学言語モジュール

理由(เหตุผล)

สิ่งที่ควรรู้
การสร้างประโยค
1 การสร้างประโยคความซ้อนโดยการเชื่อมประโยคความเดียว S1กับประโยคความเดียวS2 เพื่อแสดงความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ เช่น สาเหตุ-ผลลัพธ์、มูลฐานในการประเมินการตัดสินวินิจฉัย-การประเมินการตัดสินวินิจฉัย、หรือการสั่ง มีรูปแบบดังต่อไปนี้
「ので」ใช้เชื่อมได้ทั้งรูปธรรมดาและรูปสุภาพ แต่กรณีเชื่อมรูปธรรมดาบอกเล่าที่ไม่ใช่อดีตของ「ナ形容詞・名詞+だ」จะอยู่ในรูป「NA+なので」「N+なので」
「から」ใช้เชื่อมได้ทั้งรูปธรรมดาและรูปสุภาพ
 
 
(1)雨が降ったので試合が中止になりました。
(เนื่องจากฝนตก การแข่งขันจึงยกเลิก)
(2)もう遅いので、これで帰ります。
(เนื่องจากสายแล้ว จึงขอกลับตรงนี้)
(3)このカメラが便利なので、これにしませんか。
(กล้องตัวนี้สะดวก ดังนั้นเอาตัวนี้ไหม)
(4)あしたが提出日ですので、気をつけてください。
(พรุ่งนี้เป็นวันกำหนดส่ง ดังนั้นระวัง(อย่าลืมส่ง))
 
(5)きのうは祭日でしたから、学校は休みでした。
(เนื่องจากเมื่อวานเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ โรงเรียนจึงหยุด)
(6)くすりを飲みましたから、もうだいじょうぶです。
(เนื่องจากกินยาแล้ว จึงไม่เป็นอะไรแล้ว)
(7)あしたは授業がないから、学校へ行きません。
(เนื่องจากพรุ่งนี้ไม่มีเรียน จึงไม่ไปโรงเรียน)
(8)もうだいじょうぶですから、心配しないでください。
(ไม่เป็นอะไรแล้ว ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วง)
ความหมายของ「ので」กับ「から」
2 「ので」「から」ประโยคS1แสดงสาเหตุ เหตุผลของประโยค S2
อื่น ๆ
3 ใช้ 「どうしてS2のですか」หรือ 「どうしてですか」ในการถามเหตุผล
(9)A:どうしてわたしの電話番号がわかったのですか。
(ทำไมถึงรู้เบอร์โทรศัพท์ของฉันล่ะ)
  B:小林さんに聞きました。
(ถามคุณโคบายาชิ)
(10)A:田中さんもあした来ますか。
(พรุ่งนี้คุณทานากะจะมาด้วยไหม)
  B:いいえ、来ません。
(ไม่ ไม่มา)
  A:どうしてですか。
(ทำไมล่ะ)
  B:病気だからです。
(เพราะไม่สบาย)
¶สามารถใช้รูป 「普通形+からです」ในการตอบคำถามที่ถามเหตุผล
(9)’A:どうしてわたしの電話番号がわかったのですか。
(ทำไมถึงรู้เบอร์โทรศัพท์ของฉันล่ะ)
   B:小林さんに聞いたからです。
(เพราะถามคุณโคบายาชิ)
(11)A:どうして「蛍の光」が流れているのですか。
(ทำไมจึงมีการเปิดเพลง "แสงหิ่งห้อย" )
  B:図書館が閉まるからです。
(เพราะหอสมุดกำลังจะปิด)
¶「普通形+からです」มักมีนัยยะของการที่ผู้ที่รู้สาเหตุ เหตุผลชี้แจงให้ผู้ที่ไม่รู้ฟัง ดังนั้นหากใช้กับผู้ที่อาวุโสหรือมีสถานะสูงกว่าจะเป็นการเสียมารยาท
ส่วนเสริม
4 เมื่อเปรียบเทียบกับ「ので」 แล้ว 「から」จะแสดงความหมายที่ชัดเจนกว่าว่า "นี่แหละคือเหตุผล" ดังนั้นหากใช้ 「から」ในการชี้แจงเหตุผลของการกระทำของตน หรือใช้ในสำนวนขอร้องผู้ฟัง(ชักชวน ขอร้อง คำสั่ง) จะให้ความรู้สึกว่าเป็นการชี้แจงยืนยันเรื่องราวของตนเองเพียงฝ่ายเดียว แต่หากใช้「ので」จะไม่มีความหมายดังกล่าว ดังนั้นจึงควรใช้「ので」ในกรณีข้างต้น
5 กรณีS1 เป็นการกระทำของบุคคล หากใช้「から」จะมีความหมายของการเรียกร้องความรับผิดชอบในการเกิดS2 จากผู้ที่กระทำS1 ดังนั้นควรระวังการใช้
6 สำหรับประโยครูปธรรมดา (โปรดดู「普通体」 (ประโยครูปธรรมดา)) ปกติจะใช้ 「ので」ในการแสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของเรื่องที่เกิดขึ้น  และไม่ค่อยใช้ในกรณีแสดงเหตุผลในการตัดสินใจ ชักชวน ขอร้อง คำสั่ง หรือเหตุผลในการประเมินวินิจฉัย
7 สามารถใช้รูป「て形」(→「Vて(て形) 」)หรือ 「N+で」ในการแสดงเหตุผลได้เช่นกัน
(12)雨が降って試合が中止になりました。
(การแข่งขันยกเลิกเพราะฝนตก)
(13)かぜで休みました。
(ลาหยุดเพราะเป็นหวัด)
¶ดังส่วนเสริมข้อ4-5หากใช้「から」อาจเกิดปัญหาได้ ดังนั้นในกรณีนี้สามารถใช้รูป「て形」ได้ เนื่องจากไม่มีความหมายของการแก้ตัวหรือเรียกร้องความรับผิดชอบ
(14)A:どうして授業を休んだのですか。
(ทำไมถึงหยุดเรียน)
  B:熱があって、起きられませんでした。
(ลุกไม่ไหว เพราะมีไข้)
(15)きょうは先生が病気で、授業が休みになりました。
(วันนี้งดการเรียนการสอน เพราะอาจารย์ไม่สบาย )