東京外国語大学言語モジュール

V+N

สิ่งที่ควรรู้
1 ประโยคที่ลงท้ายด้วยกริยา 「~V」สามารถใช้ขยายคำนาม N ได้
 
V(普通形 รูปธรรมดา)
 
(1)’あしたの授業で使う+本  →  あしたの授業で使う本
(I use in tomorrow’s lesson) (book)    (the book which I use in tomorrow’s lesson)
ใช้ในชั้นเรียนพรุ่งนี้ + หนังสือ       →    หนังสือที่ใช้ในชั้นเรียนพรุ่งนี้
 
(2)’わたしが通った+学校  →  わたしが通った学校
       (I went)    (school)        (the school to which I went)
ฉันเคยเรียน +  โรงเรียน             →  โรงเรียนที่ฉันเคยเรียน
 
¶กริยา 「~V」อยู่ในรูปธรรมดา เกี่ยวกับรูปธรรมดาโปรดดู「普通形の体系」(ระบบโครงสร้างรูปธรรมดา)
2 「~V+N」ทำหน้าเหมือนคำนามหนึ่งคำ และเป็นส่วนประกอบหนึ่งของประโยค
(9)[きのう書いた作文]をきょう提出しました。
(วันนี้ส่ง[เรียงความที่เขียนเมื่อวาน])
(10)[図書館で勉強している田中さん]を見ました。
(เห็น[คุณทานากะอ่านหนังสือเรียนอยู่ในหอสมุด])
3 คำนามใน「~V」ใช้คำช่วย 「Nが」
(2)あれはわたしが通った学校です。
(โน่นคือโรงเรียนที่ฉันเคยเรียน)
¶บางครั้งใช้คำช่วย 「の」แทนคำช่วย 「が」แต่ในกรณีที่อาจสร้างความกำกวมหรือเข้าใจยากจะไม่ใช้「の」
(11)きのうわたしが行った店
(ร้านที่ฉันไปเมื่อวาน)
(11)’きのうわたしの行った店
(’ร้านที่ฉันไปเมื่อวาน)
(12)お父さんが病院に勤めている山本さん(病院に勤めているのはお父さん)
(คุณยามาโมโตะที่คุณพ่อของเขาทำงานในโรงพยาบาล(ผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาลคือคุณพ่อ))
(12)’お父さんの病院に勤めている山本さん(病院に勤めているのは山本さん)
(’คุณยามาโมโตะที่ทำงานในโรงพยาบาลของคุณพ่อ(ผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาลคือคุณยามาโมโตะ))
ส่วนเสริม
4 「~Ⅴ」ใน「~Ⅴ+N」(連体修飾節 อนุพากย์ขยายคำนาม หรือนามวลี) สามารถใช้คำช่วย 「は」ที่แสดงการเปรียบเทียบได้ โปรดดูคำอธิบายⅠ(→「副助詞」 (คำช่วยวิเศษณ์))
(13)コーヒーは飲んで、紅茶は飲まない人
(คนที่ดื่มกาแฟ แต่ไม่ดื่มน้ำชา)
5 「Vた」ในอนุพากย์ขยายคำนามจะมีความหมายแสดงสภาพผล
(14)赤いセーターを着た先生(=赤いセーターを着ている先生)
(อาจารย์ที่สวมสเวตเตอร์สีแดง(=อาจารย์ที่อยู่ในสภาพสวมสเวตเตอร์สีแดง))
(15)こわれたコンピューター(=こわれているコンピューター)
(คอมพิวเตอร์ที่เสีย(=คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสภาพเสียใช้งานไม่ได้))
6 ความสัมพันธ์ด้านความหมายระหว่างคำนามกับ「~V」มีหลายความหมาย
(16)本を読んでいる人(人が本を読んでいる。)
(คนที่กำลังอ่านหนังสือ(คนกำลังอ่านหนังสือ))
(17)授業で使う本(本を授業で使う。)
(หนังสือที่ใช้ในชั้นเรียน(ใช้หนังสือในชั้นเรียน))
(18)わたしが通う学校(わたしが学校に通う。)
(โรงเรียนที่ฉันเรียน(ฉันไปโรงเรียน))
(19)田中さんが合格した話(話の内容が「田中さんが合格したこと」)
(เรื่องที่คุณทานากะสอบผ่าน(เนื้อหาของเรื่องคือ "การที่คุณทานากะสอบผ่าน"))
(20)人が勉強しているとなりでおしゃべりをする。(勉強している人のとなりでおしゃべりをする。)
(คุยข้าง ๆ คนที่กำลังอ่านหนังสือเรียน (คุยข้าง ๆ ของคนที่กำลังอ่านหนังสือเรียน))
(21)魚を焼くにおい(魚を焼いた結果においが出る。)
(กลิ่นย่างปลา(มีกลิ่นจากผลการย่างปลา))
(22)頭のよくなるくすり(くすりを飲むと頭がよくなる)
(ยาที่ทำให้ฉลาดขึ้น(เมื่อกินยาแล้วจะฉลาดขึ้น))
¶ตัวอย่าง (16)(17)(18) ข้างต้น Nがเป็นส่วนประกอบของ 「~V」 ในส่วนที่เป็นส่วนขยายคำนาม แต่ตัวอย่างอื่นไม่ใช่ ดังที่ได้เห็นในข้างต้นแล้วว่าNไม่ใช่ส่วนประกอบหนึ่งของ「~V」ในส่วนที่เป็นส่วนขยายเสมอไป ดังนั้นจึงควรระวัง