東京外国語大学言語モジュール

こわい・悲しい・うれしい、など

สิ่งที่ควรรู้
1 คุณศัพท์แสดงอารมณ์ความรู้สึก มีดังนี้
 คุณศัพท์イ:こわい、恐ろしい、悲しい、うれしい、つらい、苦しい、楽しい
 คุณศัพท์ナ:いやだ、心配だ
2 สำหรับคำคุณศัพท์แสดงอารมณ์ความรู้สึกจะใช้คำช่วย「Nが」 เพื่อบ่งชี้สิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกเช่นนั้น สำหรับกรณี「悲しい、うれしい、つらい」แม้อาจมีความแตกต่างในแต่ละบุคคลบ้าง บางครั้งอาจไม่บ่งชี้สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึก แต่โดยพื้นฐานแล้วสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกจะใช้คำช่วย「Nが」
(4)わたしはつらいです。
(ฉันลำบากใจ)
(5)わたしは仕事がつらいです。
(ฉันรู้สึกลำบากกับงาน)
3 ผู้ที่มีความรู้สึกเช่นนั้นซึ่งหมายถึงผู้พูด(หรือหมายถึงผู้ฟังในกรณีที่เป็นประโยคคำถาม)จะใช้คำช่วย「Nは」แต่ก็สามารถละได้ บุรุษที่สามจะไม่สามารถเป็นประธานของประโยคประเภทนี้ได้
(6)あなたは地震がこわいですか。
(คุณกลัวแผ่นดินไหวไหม)
(7)K先生がこわいです。
(Kกลัวอาจารย์)
(1)’×田中くんは犬がこわいです。
(’×ทานากะกลัวสุนัข)
4 บุรุษที่สามสามารถเป็นประธานของคุณศัพท์แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ในกรณีต่อไปนี้
① ในสำนวนถ่ายทอดข้อมูลเรื่องราวหรือบอกสภาพ
(8)田中くんは犬がこわいそうです。
(ได้ยินว่าทานากะกลัวสุนัข)
(9)田中くんは犬がこわいらしいです。
(ดูเหมือนว่าทานากะกลัวสุนัข)
② ในประโยคในนวนิยาย
(10)田中くんは犬がこわかった。
(ทานากะกลัวสุนัข)
ลักษณะการใช้เหล่านี้เหมือนกับลักษณะการใช้ของสำนวนแสดงความประสงค์「ほしいです」、「~たいです」
5 การบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึกของบุรุษที่สามสามารถทำได้โดยการใช้คำกริยารูป 「がる」ซึ่งผันได้โดยการตัด「い」ของรูปธรรมดาของคำคุณศัพท์แสดงความรู้สึกแล้วเติม 「がる」เช่น「こわがる、悲しがる、うれしがる」
(11)田中くんはいつも犬をこわがります。
(ปกติทานากะกลัวสุนัข)
¶ควรระวังการใช้ เนื่องจากกริยาเหล่านี้มีความหมายแฝงเชิงตำหนิว่า"ขี้ขลาดกลัวอะไรแบบนั้น" กริยาเหล่านี้สามารถใช้คำช่วย 「Nを」กับสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกเช่นนั้น และใช้กริยารูป「Vています」 เพื่อแสดงสภาพในปัจจุบัน(→「Vています(状態 )」)
(12)田中くんは犬をこわがっています。
(ทานากะกลัวสุนัข)
6 สามารถละได้ทั้งผู้ที่มีความรู้สึกเช่นนั้นและสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกได้ บางครั้งใช้แค่คำคุณศัพท์เพียงลำพัง
(13)うれしい。
(ดีใจ)
7 ยังมีคำคุณศัพท์ที่ใช้คำช่วย「Nが」กับสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้น เช่นเดียวกับกรณีของคุณศัพท์แสดงอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น เช่นคุณศัพท์เกี่ยวกับความเจ็บปวด อุณหภูมิร้อนหนาว คุณศัพท์เหล่านี้ใช้ 「Nが」กับสิ่งที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น
 ตัวอย่าง:お湯が熱い。(น้ำร้อน)
     手が冷たい。(มือเย็น)
     歯が痛い。(ปวดฟัน)