東京外国語大学言語モジュール

助詞とは

สิ่งที่ควรรู้
1 ดังที่ได้เรียนไปแล้วว่ากริยาหรือคุณศัพท์มีความสัมพ้นธ์กับคำนามในประโยค และคำที่ใช้กับคำนาม เช่น 「が」「を」「に」เป็นสิ่งแสดงความสัมพันธ์ด้านหน้าที่และความหมายระหว่างคำนามกับกริยาหรือคุณศัพท์ในประโยค นอกจากนี้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม จะเติม 「の」หรือ「と」หรือ หลังคำนามแรก เราเรียกคำ「が」「を」「に」「の」「と」เหล่านี้ว่า「助詞particle」 (คำช่วย)
2 คำช่วยไม่สามารถปรากฏโดด ๆ อย่างอิสระได้ในประโยค จะต้องปรากฏร่วมกับคำอื่น(เช่น คำนาม กริยา คุณศัพท์)เสมอ และคำช่วยแสดงทำหน้าที่จะแสดงความสัมพันธ์เชิงความหมายและไวยากรณ์ของคำนามนั้นกับคำอื่น ๆ ในประโยค นอกจาก が」「を」「に」แล้ว ในภาษาญี่ปุ่นยังมีคำช่วยอื่นอีก 
3 คำช่วยในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามหน้าที่ รายละเอียดเกี่ยวกับคำช่วยแต่ละตัวจะอธิบายต่อไปใน「格助詞」(คำช่วยแสดงหน้าที่) 
 ① 格助詞(case particle)(คำช่วยแสดงหน้าที่)
 ใช้ร่วมกับคำนาม เพื่อแสดงความสัมพันธ์ด้านหน้าที่และความหมายระหว่างคำนามนั้นกับคำอื่น(คำนามอื่น คำกริยา หรือคุณศัพท์)
   (1)庭の花
(ดอกไม้ในสวน)
   (2)山田さんと田中さん
(คุณยามาดะและคุณทานากะ)
   (3)机の上に本があります。
(บนโต๊ะมีหนังสือ)
   (4)本を読みます。
(อ่านหนังสือ)
   (5)10時から授業を始めます。
(ชั้นเรียนเริ่มตั้งแต่สิบโมง)
 ②接続助詞(คำช่วยสันธาน)(คำช่วยเชื่อมความ)
  ใช้ร่วมกับคำนาม กริยา หรือคุณศัพท์ที่เป็นภาคแสดงของประโยคย่อย เพื่อแสดงความสัมพันธ์ด้านหน้าที่และความหมายระหว่างประโยคย่อยกับประโยคหลัก รายละเอียดโปรดดู「Vて(て形) 」、「AくてA・NAでNA・NでN」~「VてVます」、「理由」(เหตุผล)~「譲歩」(การประนีประนอม ยอมรับ)
   (6)朝起きて顔を洗います。
(ตอนเช้าตื่นแล้วล้างหน้า)
   (7)春になると暖かくなります。
(พอถึงฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะอุ่นขึ้น)
   (8)雨が降ったら運動会は休みです。
(ถ้าฝนตก งานแข่งขันกีฬาจะงด)
 ③ 副助詞(取り立て助詞、取り立て詞)คำช่วยวิเศษณ์(คำช่วยเสริมความ,คำเสริมความ)
  ใช้ร่วมกับคำต่าง ๆ เพื่อแสดงความหมายเสริม
   (9)この本は読みました。
(หนังสือเล่มนี้น่ะ อ่านแล้ว)
   (10)この本も読みました。
(หนังสือเล่มนี้ก็อ่านแล้ว)
   (11)この本だけ読みました。
(อ่านเพียงหนังสือเล่มนี้เท่านั้น)
   (12)この本ばかり読みました。
(อ่านแต่หนังสือเล่มนี้)
   (13)この本まで読みました。
(อ่านกระทั่งหนังสือเล่มนี้)
   (14)この本など読みました。
(อ่านหนังสือเล่มนี้ฯลฯ)
 ④ 終助詞(sentence-final particle)(คำช่วยท้ายประโยค)
       ส่วนใหญ่จะปรากฏที่ท้ายประโยค เพื่อแสดงทัศนะของผู้พูดต่อผู้ฟัง
  
   (15)あしたは日曜日ですか。
(พรุ่งนี้วันอาทิตย์หรือ)
   (16)あしたは日曜日ですよ。
(พรุ่งนี้วันอาทิตย์นะ)
   (17)あしたは日曜日ですね。
(พรุ่งนี้วันอาทิตย์เนอะ)
ส่วนเสริม
4 คำช่วยบางครั้งสามารถใช้ร่วมกันครั้งละหลายตัวได้
(18)あなた に だけ は 話しましょう。
(บอกแค่คุณเพียงคนเดียว)
(19)きょうのテストは3時からです よ ね。
(การสอบวันนี้เริ่มสามโมงใช่ไหมนะ)