東京外国語大学言語モジュール

Vてあります

สิ่งที่ควรรู้
1 「Vてあります」(รูปธรรมดาคือ「Vてある」)ใช้แสดงสภาพของNที่เปลี่ยนแปลงไปโดยความตั้งใจ(ของใครบางคนที่)ทำให้เกิดขึ้น
 
(Nは/が)
Vて
あります
  N:กรรมของกริยาV
 
(1)窓が閉めてあります。
(หน้าต่างปิดอยู่)
(2)電気が消してありました。
(ไฟปิดอยู่)
(3)駅のホームに新しい映画のポスターがはってありました。
(ที่ชานชาลาสถานีรถไฟมีโปสเตอร์หนังเข้าใหม่ติดอยู่)
(4)問題は15ページに書いてあります。
((มี)คำถามเขียนอยู่ในหน้าสิบห้า)
(5)A:机の上に辞書が置いてありますか。
(บนโต๊ะมีพจนานุกรมวางอยู่หรือ)
  B:はい、置いてあります。
(ใช่ (มี)วางอยู่)
(6)A:あ、ケーキが切ってありますよ。
(อะ, (มี)เค้กตัด(เป็นชิ้น)อยู่)
  B:じゃあ、食べましょう。
(ถ้าอย่างนั้น กินกันเลยเถอะ)
2 「Vてあります」เน้นเพียงสภาพผลของการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้สนใจในการกล่าวถึงผู้กระทำ
3 Nในโครงสร้างประโยค「Vてあります」เป็นกรรมของกริยาV และในขณะเดียวกันก็เป็นประธานหรือสิ่งที่มีสภาพผลนั้น
4 กริยา Vต้องเป็นกริยาที่ใช้คำช่วย「を」ที่แสดงกรรม และการกระทำกริยาทำให้กรรมนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง เท่านั้น เช่น「開ける」「置く」「消す」「切る」
(7)窓が開けてあります。
(หน้าต่างเปิดอยู่)
(7)’ ×窓が開いてあります。
(’ ×หน้าต่างเปิดอยู่)
ประเภทของกริยาโปรดดู
5 「Vました」กับ「Vてあります」มีความแตกต่างกันดังนี้
 
Vました
Vてあります
บรรยายการกระทำ
บรรยายผล
มีนัยยะแสดงจุดประสงค์
×
×
×
(7)窓が開けてあります。
(หน้าต่างเปิดอยู่)
(7)"窓を開けました。
(เปิดหน้าต่าง)
¶(7)"กล่าวถึงการกระทำ ส่วน(7) กล่าวถึงสภาพของหน้าต่างที่เกิดจากผลของการกระทำ และ (7) ยังมีนัยยะว่า เปิดหน้าต่างไว้เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง แต่ (7)" ไม่มีนัยยะนี้
6 「Vてあります」กับ「Vています」ที่แสดงสภาพผลของการเปลี่ยนแปลง มีความแตกต่างกันดังนี้
 
Vてあります
Vています
ประเภทของกริยา
บรรยายสภาพในปัจจุบัน
กระทำโดยเจตนา
สกรรมกริยาที่ทำให้กรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง
อกรรมกริยาที่ประธานเกิดการเปลี่ยนแปลง
×
(เกี่ยวกับ「他動詞」สกรรมกริยาโปรดดู9)
(7)窓が開けてあります。
(หน้างต่างเปิดอยู่)
(7)'''窓が開いています。
(หน้าต่างเปิดอยู่)
¶(7) มีนัยยะว่ามีใครบางคนได้เปิดหน้าต่าง แต่(7)'' ไม่มีนัยยะนี้
ส่วนเสริม
7 「Vてあります」ใช้เมื่อกล่าวถึงการกระทำที่ได้ทำเสร็จสมบูรณ์แล้วและได้ทำเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง กรณีนี้กรรมของประโยคจะใช้คำช่วย「を」
(8)A:小林さんに来週の予定を話してありますか。
(แจ้งกำหนดการสัปดาห์แก่คุณโคบายาชิแล้วหรือ)
  B:いいえ、まだです。
(ไม่ ยัง(ไม่ได้แจ้ง))
(9)A:漢字を調べてありますか。
(ค้น(เสียงอ่านความหมาย)คันจิแล้วหรือ)
  B:はい、調べました。
(ใช่ ค้นแล้ว)
8 ควรระวังการใช้คำช่วย เนื่องจากกริยาบางคำมีทั้งที่แสดงสภาพผล และแสดงการกระทำที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
9 ประเภทของกริยา
①กริยาที่กรรมใช้คำช่วย「を」ที่แสดงกรรม (他動詞)(สกรรมกริยา)
・กริยาที่ทำให้กรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง
   ตัวอย่าง:開ける、置く、消す、切る
・กริยาที่ไม่ทำให้กรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง
  ตัวอยาง:読む、見る、たたく、ける、さわる
②กริยาที่ไม่ใช้คำช่วย「を」ที่แสดงกรรม  (自動詞)(อกรรมกริยา)
  ตัวอย่าง:開く、こわれる、のびる、閉じる、走る、泳ぐ
    ある、いる
ในⅠ②มีกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่เช่น「出る、通る、行く」โดยปกติมักเรียกกริยาเหล่านี้ว่า「自動詞」(อกรรมกริยา)