東京外国語大学言語モジュール

動詞の3種類(กริยา3ประเภท)

สิ่งที่ควรรู้
1 คำกริยาแบ่งเป็น 3 ประเภทหรือ 3 กลุ่มตามวิธีการผัน
2 กริยากลุ่มที่1 การผันรูป ます形และรูป ない形 ทำได้โดยการผันท้ายคำของรูปพจนานุกรมจาก「u」เป็น i หรือ a จากนั้นจึงเติม「ます」หรือ「ない」             
 
yomu
yomi-masu
yoma-nai
 
kaku
kaki-masu
kaka-nai
 
 การผันรูป た形 และรูป て形ทำได้โดยการผันพยางค์สุดท้ายของคำรูปพจนานุกรมรวมถึง「u」เป็น 「っ」「ん」「い」「し」จากนั้นจึงเติม 「た」หรือ「て」
 
yomu
yoN-da
yoN-de
 
kaku
kai-ta
kai-te
 
¶การผันรูป た形 และรูป て形 จะขึ้นอยู่กับว่าพยางค์สุดท้ายของคำรูปพจนานุกรมนั้นคืออะไร นอกจากนี้กริยาบางคำ「た」และ「て」จะกลายเป็น「だ」และ「で」ด้วย(เช่น「読む」)ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าพยางค์สุดท้ายของคำรูปพจนานุกรมนั้นคืออะไร รายละเอียดโปรดดู(ตาราง(た形)ในคำอธิบายⅩใน「普通形の体系」(ระบบโครงสร้างรูปธรรมดา) และ「Vて(て形)」(ตารางรูปて形)
3 กริยากลุ่มที่2 รูปพจนานุกรมจะอยู่รูป -iru、-eru ทั้งหมด (อย่างไรก็ดีมีกริยาบางตัวที่ลงท้ายด้วย iru、-eru แต่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1)
 การผันรูป ます形และรูป ない形 ทำได้โดยการตัด ru ท้ายคำของรูปพจนานุกรม จากนั้นเติม「ます」หรือ「ない」
 
okiru oki-masu oki-nai
 
taberu tebe-masu tabe-nai
 
 การผันรูป た形และรูปて形 ใช้วิธีเดียวกัน
 
okiru oki-ta oki-te
 
taberu tabe-ta tabe-te
4 กริยากลุ่มที่ 3คือ「する」และ「くる」กริยา2 คำนี้ถูกรวมไว้ในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากมีการผันที่เป็นพิเศษ การผันของ「する」และ「くる」แตกต่างกัน ดังนั้นคงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องจดจำรูปผันต่าง ๆ
 
suru si-masu si-nai
si-ta  
si-te 
 
kuru ki-masu  ko-nai
ki-ta
ki-te
      
ส่วนเสริม
5 การจะทราบว่ากริยาใดอยู่ในกลุ่มใด สุดท้ายแล้วก็ไม่มีทางอื่น นอกจากการจดจำ อย่างไรก็ตามเราพอจะแบ่งแยกได้ในระดับหนึ่งโดยดูจากรูปของคำกริยา
①「する」และ「くる」เป็นกริยากลุ่มที่3
② กริยาที่ไม่ลงท้ายด้วย –ru เป็นกริยาในกลุ่มที่ 1
 ตัวอย่าง:買う、書く、泳ぐ、話す、待つ、死ぬ、遊ぶ、読む
③ กริยาที่ลงท้ายด้วย –aru, -uru, -oruเป็นกริยาในกลุ่มที่ 1
 ตัวอย่าง:計る、降る、通る
④ กริยาที่ลงท้ายด้วย-iru, -eru ส่วนใหญ่เป็นกริยาในกลุ่มที่ 2
 ตัวอย่าง:見る、起きる、増える、買える
⑤ กริยาที่ลงท้ายด้วย -iru, -eru บางตัวเป็นกริยาในกลุ่มที่ 1 ซึ่งต้องจดจำ คือกริยาดังต่อไปนี้
 ตัวอย่าง:切る、走る、知る、帰る、入る、減る、要る